• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2567

การบรรยาย “ยุทธศาสตร์การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัย”

8 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ” ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัย” โดยได้รับเกียรติจาก คุณปิยชน โพธารมย์ ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีเนื้อหาหลักประกอบด้วยการบริหารจัดการ Global Talent แผนการเป็น Digital Transformation และ กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมองค์กร (Core Values) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนที่การอบรมช่วงบ่ายจะเป็นการบรรยายและนำกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมการเรียนรู้ค่านิยมมหิดล (Mahidol Core Values) โดย ทีมงานกองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล


โครงการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากรของคณะพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพของการเป็นผู้นำยุคใหม่ที่เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมสอดคล้องตามค่านิยมองค์กรของคณะและมหาวิทยาลัยมหิดล


เครื่องมือในการบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิผล (effectiveness) และมีประสิทธิภาพ (efficiency)

6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ” ในหัวข้อ “เครื่องมือในการบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิผล (effectiveness) และมีประสิทธิภาพ (efficiency)” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพ และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายโดยมีเนื้อหาหลักครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตั้งแต่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEX) 2567-2570 วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก การจัดทำและการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ตลอดจนประสิทธิผลการปฏิบัติงาน และดัชนีชี้วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน


โครงการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากรของคณะพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพของการเป็นผู้นำยุคใหม่ที่เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมสอดคล้องตามค่านิยมองค์กรของคณะและมหาวิทยาลัยมหิดล


อบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร”

1 กุมภาพันธ์ 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายให้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรมจากโรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต จำนวน 26 คน โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โมเดลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG model) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ตลอดจนหลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร และกิจกรรมและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” จัดขึ้นโดยสำนักงานวิทยบริการด้านสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 1 -2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) และหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เป็นต้น


ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “เรื่องของ "เขา" เกี่ยวกับ "เรา" ยังไง?”

31 มกราคม 2567 เวลา 11.45 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาองค์กร "Mahidol Core Values" เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารภายในองค์กรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและนำองค์ความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ และผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยอาจารย์ภัทราวุธ พุสิงห์ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “เรื่องของ "เขา" เกี่ยวกับ "เรา" ยังไง?” ซึ่งบอกเล่าประสบการณ์และเรื่องราวที่พบเห็นจากการออกภาคสนามพื้นที่สูงที่ จ.น่าน อาทิ การทำการเกษตรบนพื้นที่สูงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ตอนล่าง รวมถึงเราทุกคน และสิ่งที่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถช่วยเหลือได้ รวมถึงถ่ายทอดความประทับใจที่มีต่อเพื่อนร่วมเดินทางและผู้สนับสนุนหลัก ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ มุ่งผลเพื่อผู้อื่น (Altruism), กลมกลืนกับสรรพสิ่ง (Harmony) และแน่วแน่ทำ กล้าตัดสินใจ (Determination)


อบรม “การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"

31 มกราคม 2567 เวลา 08.45 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการอบรม “การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 41 คน ณ ห้องประชุม 4228 ศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล

การอบรม “การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine” จัดขึ้นโดยสำนักงานวิทยบริการด้านสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจขั้นตอนพื้นฐาน และสามารถประยุกต์ใช้งาน Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงงานด้านต่างๆ อาทิ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการตัดสินใจ (Actionable Intelligence Policy: AIP) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมี อาจารย์ ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย เป็นวิทยากรบรรยายและนำฝึกปฏิบัติในหัวข้อต่างๆ เช่น ข้อมูลมหัต และ Google Earth Engine (GEE) พื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JavaScript การป้อนข้อมูล การนำเข้า/ส่งออกข้อมูลและชุดคำสั่ง เป็นต้น


พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Changwon National University, Dong-Eui University, Dongseo University และ Silla University จากสาธารณรัฐเกาหลี

29 มกราคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Changwon National University, Dong-Eui University, Dongseo University และ Silla University จากสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ Industry-university Cooperation 3.0 (LINC 3.0) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ Professor DEA-WOON, JEONG, General Director จาก Changwon National University, Professor GI-HYUN, HWANG, General Director จาก Dongseo University, Professor IMGEUN, LEE, General Director จาก Dong-Eui University และ Professor BOMJIN, LEE, General Director จาก Silla University ร่วมลงนามใน MoU ณ Innogineer Studio อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.