จากปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งนานาประเทศได้รับผลกระทบทั่วกันและทำให้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจและให้ความตระหนักถึงภาวะโลกร้อนและวิธีลดโลกร้อน ซึ่งการลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่สามารถทำได้ คือ การร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งประชาชนในฐานะผู้บริโภค ซึ่งการดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในส่วนของผู้บริโภคนั้นสามารถเชื่อมโยงกับส่วนผู้ผลิต คือ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ห่วงใยรักษาสิ่งแวดล้อม หรือมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย และการที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยจำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อดังนั้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จึงได้จัดทำโครงการฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label) ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตสินค้าพัฒนากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ โดยตัวฉลากจะแสดงระดับการลดลงของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตสินค้าไว้เป็นข้อมูลสินค้า และเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก

ฉลากคาร์บอน (Carbon Label) คืออะไร

ฉลากที่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ บรรยากาศต่อหน่วยผลิตภัณฑ์โดยการประเมินการปล่อยกาซ๊ เรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต อันเนื่องมาจากการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงฟอสซิล และของเสียในรูปของกากของเสีย น้ำเสีย และมลพิษทางอากาศจากวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA)

ฉลากคาร์บอนในประเทศไทยมี 2 ประเภท

  • ฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint Label)
  • ฉลากคาร์บอน (Carbon Reduction Label)

ฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint Label)

ฉลากคาร์บอน

1) ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจชื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน จะช่วยให้เรามีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลก เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

ฉลากคาร์บอน

2) เครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน คือ ฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง กระบวนการผลิต การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้ โดยมีรูปแบบสำหรับการประเมินประกอบด้วย การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ใน ปีปัจจุบัน การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน (Base Year) การเปรียบเทียบคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีปัจจุบันกับปีฐาน และนำผลการเปรียบเทียบพิจารณาตามเกณฑ์การประเมิน เพื่อขึ้นทะเบียนเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ เมื่อผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถติดเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ บนผลิตภัณฑ์ หรือเผยแพร่บนสื่อต่างๆ