หัวข้อ |
รายละเอียด |
ชื่อโครงการ MU-SDGs Case Study |
การศึกษา และวิเคราะห์เชิงระบบของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีผลต่อการหนุนเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG Investigating and Systematically Analyzing the Effects of Eco-Industry on BCG Economy Model |
แหล่งทุน |
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) |
ส่วนงานหลัก |
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ |
ส่วนงานร่วม |
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล |
ผู้ดำเนินการหลัก |
รศ.ดร.กิติกร จามรดุสิต |
ผู้ดำเนินการร่วม |
รศ.ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์ |
คำอธิบาย |
การพัฒนาข้อเสนอแนะแก่ระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่มีผลต่อการหนุนเสริมการขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้าน BCG ของประเทศไทยด้วยเทคนิคการจับกลุ่มคำ ลาเทนต์ ดิลิชเลท์ อัลโลเคชั่น (LDA) การวิเคราะห์งานวิจัยด้าน BCG ในระดับประเทศไทยและระดับโลกด้วยวิธีวิเคราะห์บรรณมิติ (Bibliometric Analysis) และการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธี Q-Methodology |
เนื้อหา MU-SDGs Case Study |
ความสำคัญ ผลจากที่ประเทศไทยใช้ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดของเหลือทิ้งที่สร้างมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพ จึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรได้เต็มศักยภาพ เกิดการพัฒนาแบบกระจุกตัว และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคส่วนต่างๆ ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) พ.ศ. 2564-2569 พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศไทย การหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ จำเป็นต้องมีกรอบแผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมงานวิจัยให้มีบทบาทในการหนุนเสริม และต่อยอดการขับเคลื่อนตามกรอบยุทธศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยง สอดคล้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์การเติบโตบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การศึกษานี้เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลสถานภาพ และข้อมูลเชิงลึกของการดำเนินงานของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และการขับเคลื่อนประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมตามหลักวิชาการ ข้อมูลแนวทางตามกรอบยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนยุทธศาตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดล BCG รวมถึงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเน้นหลักการของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผสานกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งเป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะนำสู่ผลลัพธ์ของข้อเสนอแนะที่จะเป็นส่วนหนุนเสริมให้เกิดจุดคานงัดในการผลักดัน และมีผลต่อการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การสนับสนุนทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันภาคอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อขับเคลื่อนตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดล BCG ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาทั้งในกรอบภาพใหญ่ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดล BCG และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมีที่กำหนดเป็นโมเดลในการศึกษาเชิงลึก
วัตถุประสงค์โครงการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะแก่ระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่มีผลต่อการหนุนเสริมการขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG คณะผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้าน BCG ของประเทศไทยด้วยเทคนิคการจับกลุ่มคำ ลาเทนต์ ดิลิชเลท์ อัลโลเคชั่น (LDA) การวิเคราะห์งานวิจัยด้าน BCG ในระดับประเทศไทยและระดับโลกด้วยวิธีวิเคราะห์บรรณมิติ (Bibliometric Analysis) และการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธี Q-Methodology
ผลการดำเนินงาน ผลการวิเคราะห์เอกสารด้วย LDA พบว่ามีประเด็นหลักรวม 13 หัวข้อจากเอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้าน BCG โดยประเด็นสำคัญที่เป็นหัวข้อที่พบมากในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ได้แก่การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งนับเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ผลการวิเคราะห์บรรณมิติพบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ BCG ของประเทศไทยมีความกระจุกตัวอยู่ในบางหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเท่านั้น ข้อเสนอแนะคือควรมีงานวิจัยสหวิทยาการข้ามศาสตร์ และงานวิจัยที่เริ่มจากการตั้งโจทย์จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เป็นต้น ผลการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วย Q-Methodology สรุปว่าประเทศไทยสามารถใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG รวม 4 รูปแบบ (Models) ได้แก่ (1) การมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (2) การสร้างมาตรการส่งเสริม และแรงจูงใจ อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนารากฐานงานวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม และ (4) การสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม
The objective of this research is to develop suggestions for a science, research and innovation system that supports industrial advancement according to the BCG economy model. This research incorporated a mixed-method including an analysis of Thailand’s BCG-related documents using an unsupervised machine learning - topic modelling - algorithm called latent Dirichlet allocation (LDA), an analysis of research on the Thai and international levels using a bibliometric analysis method, and a development of suggestion models using inductive qualitative interviews and Q-methodology factor analysis.
The results of LDA found that there are 13 main topics that were discussed in BCG-related documents. The two most frequently found topics in the Action Plan - “collaboration” and “innovation” - are the key factors driving the BCG economy model. The bibliometric analysis found that Thailand’s BCG-related research often concentrates on a few technology-related topics. Suggestions include a more emphasis on multidisciplinary research and research that is initiated by other key stakeholders. Further, this research used Q-methodology to suggest four models for a science, research and innovation system of Thailand. The four models are (1) sustainable innovation acceleration, (2) efficient incentive programs, (3) collaborative research infrastructure, and (4) decentralized inclusive support.
การนำไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้นำผลการวิจัยไปจัดทำนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนโมเดล BCG ด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (ววน.)
ผลงานตีพิมพ์ อยู่ระหว่างการพัฒนาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ |
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น |
|
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก |
ผลกระทบในระดับประเทศ การบูรณาการข้อมูลทำให้เห็นถึงสถานภาพของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ภายในประเทศที่ผ่านมาและการขับเคลื่อนประเทศตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของภาคส่วนต่างๆและเชื่อมโยงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ด้านงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG |
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม |
9 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
8 |
รูปหน้าปก |
|
รูปหน้ารายละเอียด |
|
Key Message
|
ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการและการพัฒนาระบบนิเวศที่มีส่วนหนุนเสริม งานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม
|
- |
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย |
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation |
Partners/Stakeholders |
- |
ตัวชี้วัด THE Impact Ranking |
- |