• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การประเมินความมั่นคงทางอาหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

Food security assessment based on land cover and land use change situation in Mae Chang watershed, Lampang province

แหล่งทุน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ

ผู้ดำเนินการร่วม

นางสาวดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ ที่ปรึกษาโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ผู้ช่วยอาจารย์ศิรสิทธิ์ วงศ์วาสนา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ดร.วารินทร์ บุญเรียม  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

คำอธิบาย

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศวิเคราะห์สถานการณ์การใช้ที่ดินและผลผลิตทางการเกษตรของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำวัง มีสถานการณ์การขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมและการลดลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งอาจรวมถึงประเด็นของความมั่นคงทางอาหาร การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต การประเมินความถี่ของการเพาะปลูกรวมถึงผลผลิตทางการเกษตรของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง การประเมินปริมาณน้ำท่า การชะล้างพังทลายของดิน การพัดพาตะกอนลงสู่ลำน้ำ และการสูญเสียธาตุอาหารหลัก การประเมินความเหมาะสมของการใช้ที่ดินของพืชเกษตรหลัก อันจะนำไปสู่การประเมินความมั่นคงทางอาหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ต่อไป

การดำเนินการ

การวิจัย ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งสิ้น 8 ขั้นตอน ดังนี้

1) การประเมินสถานการณ์การใช้ที่ดินในปี พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ 2564 โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม

2) การประเมินรูปแบบการทำเกษตรกรรมของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ในปี พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ 2564 ด้วย Google Earth Engine

3) การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอนาคต พ.ศ. 2569 และ 2574 ด้วยแบบจำลอง Land Change Modeler (LCM)

4) การประเมินปริมาณน้ำท่ารายปีตามรูปแบบการใช้ที่ดินในปี พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ พ.ศ. 2564 และการใช้ที่ดินในอนาคต พ.ศ. 2569 และ 2574

5) การประเมินการชะล้างพังทลายของดินด้วย USLE การพัดพาตะกอนลงสู่ลำน้ำ และการสูญเสียธาตุอาหารหลัก ด้วย InVEST

6) การประเมินพื้นที่เหมาะสมของการใช้ที่ดินทางการเกษตรของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ด้วย GIS

7) การประเมินความมั่นคงทางอาหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเกษตรกรรมและผลผลิตของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด โดยใช้การสัมภาษณ์/สอบถามข้อมูลจากผู้กำหนดนโยบายในพื้นที่ศึกษา (Planners) ผู้มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ศึกษา (Experienced professional) ผู้นำชุมชน (Community leader) และตัวแทนเกษตรกร (Farmer) ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง

 

ผลการดำเนินงาน

1) ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จางจากปี พ.ศ. 2544 2549 2554 2559 และ 2564 พบว่าพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เหมืองแร่ และพื้นที่ชุมชนสิ่งปลูกสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าผลัดใบลดลง

2) ความเข้มของการเพาะปลูกพืชพบว่าข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่ปลูก 1 รอบต่อปี

3) การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2569 และ 2574 พบว่าการลดลงของพื้นที่ป่าผลัดใบและการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะไม้ยืนต้น

4) ปริมาณน้ำท่ารายปีใน พ.ศ. 2544 2549 2554 2559 และ 2564 พบว่ามีปริมาณน้ำท่ารายปีเท่ากับ 542.98 1163.43 1632.46 168.98 และ 159.93 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สำหรับปี พ.ศ 2569 และปี พ.ศ. 2574 มีปริมาณน้ำท่ารายปีเท่ากับ 442.46 และ 223.62 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

5) การประเมินการชะล้างพังทลายของดิน การพัดพาตะกอนลงสู่ลำน้ำ และการสูญเสียธาตุอาหารหลัก

5.1) การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่เกิดการชะล้างพังทลายของดินในระดับน้อยมาก (very slight) มีพื้นที่เท่ากับ 930.96 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 56.88 รองลงมาอยู่ในระดับน้อย (slight) มีพื้นที่เท่ากับ 300.65 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 18.37 และระดับรุนแรง (severe) มีพื้นที่เท่ากับ 126.16 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 7.71 ส่วนใหญ่พบในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก

5.2) การวิเคราะห์หาผลผลิตตะกอนในปี พ.ศ. 2544 พบว่า มีปริมาณตะกอนเท่ากับ 153261.17 ตันต่อปี ปี พ.ศ. 2549 พบว่ามีปริมาณตะกอนเท่ากับ 211,734.36 ตันต่อปี ปี พ.ศ. 2554 พบว่ามีปริมาณตะกอนเท่ากับ 332,825.42 ตันต่อปี ปี พ.ศ. 2559 พบว่า มีปริมาณตะกอนเท่ากับ 186,739.15 ตันต่อปี และปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีปริมาณตะกอนเท่ากับ 184,525.41 ตันต่อปี

5.3) การพัดพาธาตุอาหารลงสู่ลำน้ำ พบว่า ลุ่มน้ำแม่จางมีการพัดพาไนโตรเจนโดยเฉลี่ย 54.22 ตัน/ปี และฟอสฟอรัสโดยเฉลี่ย 4.51 ตัน/ปี ลักษณะของการพัดพาจะสอดคล้องกับปัจจัยของการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าปริมาณน้ำฝน

6) การประเมินความเหมาะสมของการใช้ที่ดินทางการเกษตร พบว่า พื้นที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกพืชเกษตรกรรมที่เป็นพืชไร่ ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง มากกว่าการปลูกนาข้าว

7) ผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถเลี้ยงชีพและครอบครัวได้ ทำให้แนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงไปทำเกษตรชนิดอื่น ทั้งนี้ ปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง และอาจจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่าที่ลดลง ทำให้ควรมีการส่งเสริมให้สร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร รวมถึงสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน ที่ควรมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อบรรเทาปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าไม้

 

การนำไปใช้ประโยชน์

1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง 2) สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำปาง 3) สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 4) ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน (ในตำบลแม่เมาะ ตำบลแม่ทะ ตำบลน้ำโจ้) 5) วิสาหกิจชุมชน (วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม) 6) เกษตรกรในพื้นที่ มีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง อันนำไปสู่การผลิตอาหารอย่างมีเป้าหมาย และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ในลุ่มน้ำแม่จางอย่างยั่งยืนต่อไป

 

Abstract

Mae Chang watershed located in Lampang Province is a subwatershed of the Wang watershed which mostly consists of forest areas and agricultural areas. According to the current land use status in Mae Chang watershed, agricultural areas has been expanded, but forest areas has been reduced continually. These situations may affect changes in the quality of the environment and the quality of life of the people in the watershed area, including food security. Therefore, the research objectives were to achieve assessment of the situation of land use change and forecasting future land use changes; assessment of cropping frequency as well as the crop yield of three major agricultural crops: rice, maize and cassava; assessment of annual water yield; assessment of soil erosion, sediment export, and nutrient export into the river; assessment of land use suitability of major agricultural crops; and assessment of food security under land use change situations. Land use changes in Mae Chang watershed from 2001, 2006, 2011, 2016 and 2021 found that agricultural areas, mining area, and urban and built-up areas expanded. At the same time, deciduous forest areas decreased. As for the land use change forecast for 2026 and 2031, it was found that the decline in deciduous forest areas and the expansion of agricultural areas continued to occur, especially perennial crops. Regarding the intensity of cropping, it was found that rice, maize, and cassava were cultivated one time per year. Annual water yield under land use in 2001, 2006, 2011, 2016 and 2021 found that the annual runoff was equal to 542.98 1163.43 1632.46 168.98 and 159.93 million cubic meters per year, respectively. As for the forecast of future land use changes in the year 2026 and the year 2031, the annual yield was 442.46 and 223.62 million cubic meters per year, respectively. As for the assessment of soil erosion in the Mae Chang watershed, it was found that most of the areas had very slight soil erosion with an area of 930.96 square kilometers or 56.88%, followed by slight level has an area of 300.65 square kilometers or 18.37% and severe level has an area of 126.16 square kilometers or 7.71%, mostly found in agricultural areas and areas with very steep slopes. As for the assessment of the agriculture land suitability, there are areas which are suitable for cultivating maize and cassava more than paddy fields. Most farmers' agricultural produce is sufficient for household consumption. This allows most farmers to earn a living and their families. Causing a tendency to not willing change their cropping. Physical factors can affect food security, including decreased rainfall and runoff, therefore, there should be encouragement to build water storage for use in agriculture. Moreover, economic and social effects also influence on food security, such as the right to own land, so there should be appropriate management to mitigate the problem of forest encroachment.

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ประเมินการใช้ที่ดินในอดีตถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ 2564 และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอนาคต พ.ศ. 2569 และ 2574 เพื่อประเมินความมั่นคงทางอาหารและกำหนดแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

หน่วยงานรัฐมีข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มการใช้ที่ดิน และมีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง อันนำไปสู่การผลิตอาหารอย่างมีเป้าหมาย และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ในลุ่มน้ำแม่จางอย่างยั่งยืนต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

รูปหน้ารายละเอียด

 

 

 

 

Key Message

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ในช่วง พ.ศ. 2544 - 2574 ทำให้หน่วยงานรัฐมีข้อมูลและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง อันนำไปสู่การผลิตอาหารอย่างมีเป้าหมาย และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ในลุ่มน้ำแม่จางอย่างยั่งยืนต่อไป

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

2) สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำปาง

3) สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

4) ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน (ในตำบลแม่เมาะ ตำบลแม่ทะ ตำบลน้ำโจ้)

5) วิสาหกิจชุมชน (วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม)

6) เกษตรกรในพื้นที่

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

2.5.1


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.