• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

พฤติกรรมเชิงลึกของเกษตรกรและคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรปลอดการเผา

Behavioral insights of farmers and surrounded people to develop a zero-burn agricultural community

แหล่งทุน

ทุนสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทุน Fundamental Fund ประเภท Basic Research Fund  ภายใต้แผนงานย่อย: พัฒนานักวิจัย   มหาวิทยาลัยมหิดล

ประเภท: ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ (สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์)        

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

ผู้ดำเนินการร่วม

-

คำอธิบาย

 

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการค้นหาทางเลือกและประเมินต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ประเมินการเปิดรับมลพิษทางอากาศ ประเมินความเต็มใจจ่ายเพื่อจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผาและความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าวของเกษตรกร  สื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว รวมถึงสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว  ตลอดจนถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้การขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผาเป็นรูปธรรมและยั่งยืนคู่วิถีเกษตรของสังคมไทย

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อ 1) ค้นหาทางเลือกและประเมินต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์ตอซังฟางข้าว 2) ประเมินการเปิดรับมลพิษทางอากาศ 3) ประเมินความเต็มใจจ่ายและความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าว 5) สื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว สื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว และ 6) ถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันสู่การเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา

 

การดำเนินการ

- การเก็บตัวอย่างดิน กระบวนการสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินระหว่างพื้นที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว และการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว

- ถอดบทเรียน และ วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ

- สังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบาย 

- เก็บข้อมูลจากบบสอบถาม แบบสอบถามเชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย

 

ผลการดำเนินงาน

- ผลการวิจัยในประเด็นทางเลือกการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว ประกอบด้วย 8 ทางเลือกหลัก ได้แก่ 1) ใช้ฟางข้าวคลุมดิน  2) ไถกลบฟางข้าว ควบคู่กับการปลูกพืชตระกูลถั่ว ปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด และทำปุ๋ยหมักฟางข้าว  3) ทำปุ๋ยหมักฟางข้าว  4) ใช้ฟางข้าวเป็นอาหาร/เลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกวาง เลี้ยงโค/กระบือ  5) เพาะเห็ดจากฟางข้าว เช่น เห็ดฟางสด เห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เห็ดนางรมเทาและทำวัสดุอาหารเสริมจากส่วนผสมของฟางข้าว  6) อัดฟางข้าวขาย  7) ผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว เช่น กระถางปลูกต้นไม้ หุ่นฟางนก ฉนวนกันความร้อนจากฟางข้าว วัสดุกันกระแทกและถาดบรรจุภัณฑ์จากฟางข้าว ผลิตภัณฑของตกแต่งบ้าน  และ 8) ใช้ฟางข้าวเป็นชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานทดแทนทางเลือก

- เกษตรกรและคนในชุมชนไม่ได้เปิดรับมลพิษทางอากาศมากนัก

- ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีความเต็มใจจ่ายในรูปตัวเงินเพื่อจัดการตอซังฟางข้าวโดยปลอดการเผา เนื่องจากไม่มั่นใจว่า หากต้องจ่ายเงินเพื่อนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์แล้ว จะได้ผลตอบแทนกลับมาคุ้มทุนหรือไม่ สำหรับความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา ส่วนใหญ่สะท้อนว่า อยากได้รับค่าชดเชยตามต้นทุนที่จะต้องมีการจ่ายไปสำหรับการนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ 

- ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าวของเกษตรกร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ได้รับอิทธิพลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญจากเกษตรกรกลุ่มที่เลือกวิธีเผาฟางข้าวในทุกประเด็นย่อย และแตกต่างเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับวิธีการจัดการโดยไม่เผา ในขณะเดียวกัน การรับรู้ประโยชน์ของวิธีการจัดการฟางข้าวที่ใช้อยู่ ของกลุ่มเกษตรกรที่ใช้วิธีการเผาพบว่ามีความแตกต่างเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญในประเด็นด้านการประหยัดต้นทุน เมื่อเทียบกับกลุ่มเกษตรกรที่ใช้วิธีการไถกลบและวิธีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในนาข้าว

- การวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว พบว่า เถ้าหลังการเผาตอซังฟางข้าวมีค่าความเป็นด่างสูง ส่งผลให้ค่า pH และ ECe เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยปรับสภาพดินในนาที่ทั่วไปมีความเป็นกรดอยู่แล้ว ให้เป็นกรดลดลง การเผาไหม้อินทรีย์วัตถุ (ตอซังและฟางข้าว) ส่งผลให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเผาไหม้ทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุ และคาร์บอนในดินลดลง

- การสื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว และสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดิน ดำเนินการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สื่อสารผ่านแกนนำเกษตรกรและจัดทำ “คู่มือ ฟางข้าว...ทำอะไรได้บ้าง”

- กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมวิธีการจัดการตอซังฟางข้าวแบบไม่เผาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและนิเวศวิทยา ที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรยั่งยืนมากขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก การสื่อสารภายในตัวเกษตรกร หรือภายในกลุ่มเกษตรกร  ส่วนสอง การสื่อสารภายนอก เป็นการสื่อสารแบบสองทางและการสื่อสารที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่าย  ส่วนสาม กลไกรองรับ ได้แก่ 1) นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศ เทคโนโลยี และการลงทุนในการนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์  2) กลยุทธ์การสื่อสาร คือ การวิเคราะห์เกษตรกร การปฏิบัติการสื่อสาร และ การติดตามตรวจสอบและการประเมิน

- การถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผาได้กลยุทธ์ 4 หลัก คือ 1) กลยุทธ์เชิงรุก: ส่งเสริมเกษตรกรแนวหน้าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข: ส่งเสริมความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และคำนึงถึงข้อจำกัดของเกษตรกร  3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน: ยกระดับการใช้ประโยชน์ฟางข้าวของกลุ่มเกษตรกรให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ  และ 4) กลยุทธ์เชิงรับ: สร้างผลตอบแทนการใช้ประโยชน์ฟางข้าวให้ชัดเจนขึ้น และจัดการการเผาอย่างเป็นระบบ

 

การนำไปใช้ประโยชน์

- คู่มือและอินโฟกราฟิกการจัดการตอซังฟางข้าว ฉบับชาวบ้าน เพื่อเกษตรกรได้นำไปปรับใช้ในการทำการเกษตร และสื่อมวลชนใช้ในการเผยแพร่สู่สาธารณะ

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลบทเรียนจากการดำเนินการ ปัจจัยความสำเร็จ และแนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสนับสนุนชุมชนเกษตรปลอดการเผาให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายต่อไป

 

มีผลงานตีพิมพ์

1. Sereenonchai, S.*; Arunrat, N. Farmers’ Perceptions, Insight Behavior and Communication Strategies for Rice Straw and Stubble Management in Thailand. Agronomy 2022, 12, 200. https://doi.org/10.3390/agronomy12010200

2. Arunrat, N.; Sereenonchai, S.* Assessing Ecosystem Services of Rice–Fish Co-Culture and Rice Monoculture in Thailand.  Agronomy 2022, 12(5), 1241; https://doi.org/10.3390/agronomy12051241  

3. หนังสือ สุกัญญา เสรีนนท์ชัย. คู่มือ ฟางข้าว...ทำอะไรได้บ้าง. บริษัท จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด. มีนาคม 2565.

 

Abstract

Behavioral insights of farmers and surrounded people to develop a zero-burn agricultural community consisted of 6 key results following the objectives: 1. According to documentary research and surveys in the study area, there were 8 methods of rice straw and stubble utilization namely: 1) mulching, 2) plowing along with growing legumes and jute crops, 3) composting, 4) using as animal feed, 5) mushroom growing, 6) compacting 7) rice straw products and 8) biomass to produce renewable energy. 2. According to the questionnaire surveys and in-depth interviews with farmers/local people, most of them were not exposed to high levels of air pollution because the time of burning rice straw and stubble was not a long time, burning occurred around the rice planting cycle. Moreover, people had a way to protect themselves from the burning smog. Most farmers were reluctant to pay in cash to manage rice straw and stubble without burning. For their willingness to accept compensation to manage the straw without burning, most of them would like to be compensated based on the costs they would have to pay for rice straw and stubble utilization. 3. The 3 theories of Theory of Planned Behavior, the Value-Belief-Norm and the Health Belief Model were integrated to analyze psychological factors influencing farmers’ adoption of rice straw and stubble management. A statistical analysis by cross-tab, stepwise multiple linear regression, one-way ANOVA and descriptive content analysis using QDA lite miner software were employed. The key results clearly showed that farmers adopting the burning method tended to have the lowest perception of PPN, PCU, PBC, PSB, PAR and PBU. In contrast, cost-saving together with rapid management seemed to be the key points for motivating farmers to retain their burning practice. Furthermore, farmers employing mixed methods significantly positively influenced on obtaining education on rice straw utilization from local authorities, income generation from their current options, income increasing from rice straw utilization, and the appropriateness for the available resources. This group of farmers should be supported as key change agents to convey their hands-on experience to motivate burning farmers to open their minds to other non-burning methods. 4. Based on soil data collection before and after the burning of rice straw and stubble, the overall results could be interpreted that ash helped to reduce the acidic of the soil. The combustion of organic matter resulted in the release of more nutrients that are beneficial to the plants. 5. Communicating alternatives, cost-returns in the rice straw and stubble utilization and the results of soil analysis under the participatory action research process through farmers' leaders and created a "Handbook of Rice Straw...What Can You Do", as a guideline for farmers' choice of rice straw utilization. 6. Communication strategy to promote rice straw utilization for achieving sustainable agriculture, key messages should highlight the clear steps of rice straw utilization, as well as the costs and benefits of each option in terms of economic, health, environmental and social perspectives. Moreover, messages designed to promote action knowledge and self-efficacy at the group level, to promote perceived responsibility via self-awareness and self-commitment, and convenient channels of communication to the farmers can help to achieve more effective non-burning rice straw and stubble management. 7. Development towards a zero-burn agricultural community consists of four strategies: 1) proactive: promote front-line farmers to be change agents; 2) corrective: promote knowledge and continuous training on systematic utilization of rice straw and concerning the limitations of farmers; 3) preventive: enhance rice straw utilization by farmers to be standardized and accepted; and 4) passive: create clearer returns on rice straw utilization and manage the incineration systematically.

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

 

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ระดับชุมชน – เพื่อเป็นต้นแบบชุมชนเกษตรปลอดการเผาในระดับชุมชน เช่นในพื้นที่ศึกษา ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

ระดับประเทศ – เพื่อผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา ที่สามารถนำไปปรับใช้กับเกษตรกรทั้งประเทศต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

11

รูปหน้าปก 

รูปหน้ารายละเอียด

ตามไฟล์แนบ

Key Message

(ระบุประโยคสรุปเรื่องหรือใจความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม ความยาว 3 บรรทัด เช่น “การแก้ปัญหาความแตกแยกร้าวลึกในสังคม ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้วางใจ ชำระสิ่งค้างคาใจ และสร้างข้อตกลงใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล”)

เป็นโครงการเพื่อผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้การขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผาเป็นรูปธรรมและยั่งยืนคู่วิถีเกษตรของสังคมไทย

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

https://drive.google.com/drive/folders/1VCBppHpkOl0b806U7mLr51allWrmYGpD

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

เกษตรกร

ภาคสื่อมวลชน

หน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอสรรพยา เทศบาลตำบลตลุก ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 5 สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอสรรพยา ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลตลุก กรมส่งเสริมการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ 

ภาควิชาการ

องค์กรอิสระที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผา

ภาคธุรกิจที่รับอัดและจำหน่ายฟางอัดก้อน 

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

2.5.1, 2.5.2


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.