• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล  Promoting Community Participation in Banteng (Bos javanicus) Conservation in Salakphra Wildlife Sanctuary

แหล่งทุน

เงินอุดหนุนกองทุนสิ่งแวดล้อม

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายเสรี นาคบุญ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ

คำอธิบาย

 

โครงการนี้เน้นสภาพปัจจุบันของวัวแดงในพื้นที่ต่าง ๆ เทียบกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชน และชุมชนบนพื้นฐานจากงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจการจัดการอนุรักษ์วัวแดงในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ต่อไป

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

วัวแดงมีความสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ เนื่องจากทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานและหมุนเวียนธาตุอาหารในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าประเภทอื่น ๆ ที่มีหญ้าขึ้นปะปนเนื่องจากระบบย่อยอาหารของวัวแดงช่วยกระตุ้นให้เมล็ดพรรณไม้งอกได้อย่างรวดเร็ว   ในประเทศไทยวัวแดงมีภัยคุกคามจากการบุกรุกพื้นที่ป่าที่ราบต่ำที่เป็นพื้นที่หากินส่วนใหญ่ของวัวแดง ซึ่งการบุกรุกพื้นที่ป่าและการล่าสัตว์ป่าของมนุษย์ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการลดจำนวนลงของประชากรวัวแดง  หากวัวแดงหมดไปจะส่งผลต่อการล่มสลายของระบบนิเวศเนื่องสัตว์ผู้ล่าชั้นบนสุด เช่น เสือโคร่งที่คอยควบคุมประชากรสัตว์ป่าชนิดอื่นต้องสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ด้วย

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุได้ริเริ่มจัดทำโครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติครั้งแรกของโลกภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรต่าง ๆ เพื่อการศึกษา วิจัย ปกป้อง คุ้มครอง ขยายพันธุ์และประชาสัมพันธ์โครงการฯ อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดของวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและจัดทำแผนการอนุรักษ์วัวแดงเพื่อใช้เป็นคู่มือใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์วัวแดงที่สามารถต่อยอดและขยายผลไปสู่พื้นที่อนุรักษ์แห่งอื่น ๆ ต่อไป

 

โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประสานความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์วัวแดงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบเพื่อความยั่งยืนในการบริหารจัดการชนิดพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ การพัฒนาเครื่องมือและกลไกในการศึกษา จัดการ และเผยแพร่การอนุรักษ์วัวแดงอย่างมีส่วนร่วม

และการบูรณาการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาในการกระตุ้นประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตสัตว์ป่าในธรรมชาติ และการบริการเศรษฐกิจ-สังคมบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน

 

การดำเนินการ

การสร้างองค์ความรู้ จิตสำนึก และความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์วัวแดโดยประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัครอนุรักษ์วัววแดง และชุมชน รับฟังความคิดเห็นและจัดทำแผน มาตรการและคู่มือการอนุรักษ์วัวแดง คู่มือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาต่อชุมชนที่อยู่ในพื้นที่  พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน  และนำเสนอข้อมูลโครงการต้นแบบสลักพระให้กับพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ

 

ผลการดำเนินการ

 

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

 

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ผลประโยชน์ต่อชุมชน

1) กลุ่มเครือข่ายชุมชน 35 ชุมชน เข้าใจการอนุรักษ์วัวแดง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

2) มีศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์วัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับ เยาวชน ประชาชน และชุมชนท้องถิ่น

3) ประชาชนและชุมชน รวมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลและข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์วัวแดงอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในการขยายผล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความสำเร็จไปสู่ชุมชนอื่น ๆ

4) ประชาชนและชุมชนมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์วัวแดง โดยเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้โครงการตั้งแต่การรับรู้ปัญหา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นผลงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมด้านคุณค่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และขยายผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการไปสู่พื้นที่อื่นได้

5) ได้ฐานข้อมูลวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระในการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์วัวแดงให้แก่ชุมชนทั้งในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป

ผลประโยชน์ต่อระบบนิเวศ

1) ทำให้ระบบนิเวศป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 602,000 ไร่ ได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของวัวแดง

2) ความซับซ้อนของสายใยอาหารจะกลับมา โดยมีวัวแดงเป็นตัวกลางในระบบ

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

15

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

 

รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

 

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

 

การส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระในการอนุรักษ์การจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า โดยผ่านกระบวนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟู เพื่อการปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ป่าต้นน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

อัลบั้มภาพ

 

Partners/Stakeholders

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ชุมชนรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ 28 ชุมชน

ชุมชนของพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ที่ยังคงพบวัวแดงในพื้นที่ รวม 17 พื้นที่

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

15.2.3, 15.3.5


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.