• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การประเมินทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา จังหวัดพิจิตร

Alternative evaluation on land use management to cope with climate change: a case study in Phichit Province

แหล่งทุน

เงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

รองศาสตราจารย์ ดร. นพพล อรุณรัตน์

ผู้ดำเนินการร่วม

-

คำอธิบาย

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นค้นหารูปแบบการจัดการ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดดวามสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

1) เพื่อค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมะสมสำหรับปลูกข้าว

2) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช

3) เพื่อประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร

4) เพื่อเสนอแนะแนวทำงกำรปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน

การดำเนินการ

1) การค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว โดย

ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ 2) ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช โดยใช้หลักการของ Life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) แบบ Cradle to gate เพื่อ

ประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนของเกษตรกร เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 3) ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร โดยใช้

แบบจำลอง Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 เพื่อประเมินผลผลิตพืช และ ใช้โปรแกรม CROPWAT 8.0 เพื่อคำนวณวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ และ 4) เสนอแนะแนวทางการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดพิจิตร

ผลการดำเนินงาน

การศึกษานี้แนะนำรูปแบบการปลูกข้าว 3 รอบ ในเขตพื้นที่ชลประทาน ใน

ขณะเดียวกัน ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน แนะนำให้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียวหลังจากการปลูกข้าวรอบที่หนึ่ง (ข้าวนาปี)

อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การเปลี่ยนจากการปลูกข้าวเป็นการปลูกมันสำปะหลัง หรือการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละสองครั้ง เป็นทางเลือกที่ดีสาหรับเขตพื้นที่นอกเขตชลประทานเช่นกัน

การนำไปใช้ประโยชน์

 

มีผลงานตีพิมพ์

1) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C., Hatano, R. 2022. Carbon, Nitrogen and Water Footprints of Organic Rice and Conventional Rice Production over 4 Years of Cultivation: A Case Study in the Lower North of Thailand. Agronomy, 12(2), 380. doi:10.3390/agronomy12020380

2) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C. 2022. Climate change impact on major crop yield and water footprint under CMIP6 climate projections in repeated drought and flood areas in Thailand. Science of the Total Environment. 807, 150741. doi: 10.1016/j.scitotenv.2021.150741

3) ผลิตนักศึกษาในโครงการ น.ส.ณฏวรรณ หวันวิเศษ (6337852 ENAT/M)

ระดับปริญญา: วท.ม. (เทคโนโลยีที่เหมาะสม และ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม)

หัวข้อวิทยานิพนธ์: ASSESSMENT OF CARBON FOOTPRINT, WATER FOOTPRINT, COST AND RETURN OF ORGANIC RICE BASED ON CIRCULAR ECONOMY AND ORIGINAL ORGANIC RICE

 

Abstract

The objectives of this study are: 1) explore the suitable cropping system for unsuitable areas for rice cultivation using survey research; 2) evaluate carbon footprint, and cost and benefit of each cropping system using life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) (Cradle to gate method); 3) assess the impact of climate change on farmers' adaptation approaches using a model Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 for estimating crop yields, and CROPWAT 8.0 for calculating water footprint; and 4) to propose the effective adaptation approaches to support decision-making in Phichit Province.

 

Based on the field survey, there are 7 cropping systems that can cope with climate change: 1) planting rice three times per year (RRR); 2) planting rice two times per year (RR); 3) planting rice once a year and planting maize (RM); 4) planting rice once a year and planting soybeans (RS); 5) planting rice once a year and planting mung beans (RB); 6) Planting maize twice a year (MM) ;and 7) Planting cassava (CS). The carbon footprint intensity of organic rice was 0.34 kg CO2eq per kg of rice yield, which is less than conventional rice cultivation (carbon footprint intensity = 0.57 kg CO2eq per kg of rice yield). The total water footprint of conventional rice cultivation was 1,470.1 m3/ton, which was higher than organic rice (1,216.3 m3/ton). Under climate change scenarios, rice yields of RRR in irrigated area were expected to increase gradually in 3 periods under SSP245, whereas they were predicted to slightly increase under SSP585. On the other hand, RR system was expected to decline in first rice (6.0-14.4 %) and second rice (7.4-17.7 %) under SSP585. Concerning planting maize, soybean and mung bean instead of the second rice, yields were predicted to have less impact under future climate change, especially mung bean. It was predicted that mung bean yield will increase slightly at all period under both the SSP245 and SSP585 scenarios. Moreover, switching from planting rice to be planting maize twice a year and cassava were expected that yields may not decline under future climate change. This study recommends an RRR cropping system in irrigated areas, while growing maize, soybean, or mung bean after the first rice crop is recommended for the rain-fed area. Alternatively, switching from growing rice to cassava or growing maize twice per year is a good option for the rain-fed area

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

การค้นหาแนวทางในการทำการเกษตรที่ยั่งยืน ด้วยการประเมินประสิทธิภาพของ

รูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตจึงเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีผลตอบแทนที่เพียงพอจะทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิต

และประกอบอาชีพการเกษตร สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ (ภัยแล้ง และน้ำท่วม)

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ระดับชุมชน

- ประโยชน์จากการค้นพบรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม และแนวทางในการส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่

- ประโยชน์จากการค้นพบแนวทางการปรับตัวในการลดผลกระทบต่อน้ำท่วมและภัยแล้ง จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและจูงใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภำพมำกยิ่งขึ้น

ระดับประเทศ

- ประโยชน์จากการค้นพบระบบการปลูกพืชที่มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นต์น้อย และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างการเพิ่มผลกำไรให้กับเกษตรกรและการรักษาระบบนิเวศโดย

การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน และผลจากประมาณการณ์ประสิทธิภาพของระบบการปลูกพืชทางเลือกในอนาคต ช่วยในการกำหนดวางแผนในอนาคต เช่น แนวทางลดการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบ ลดกำรใช้พลังงานในการผลิต ลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และพัฒนำกลไกกำรผลิตที่สะอาด เป็นต้น

- เป็นต้นแบบการเรียนรู้การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตสู่พื้นที่อื่นๆ

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

2, 15

รูปหน้าปก

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

การค้นหาแนวทางการทำการเกษตรที่ยั่งยืน และสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมด้วยการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเกษตรและรักษาสิ่งแวดล้อม

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

-

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

กรมพัฒนาที่ดิน

กรมส่งเสริมการเกษตร

กลุ่มเกษตรกร อ.สามง่าม อ.ตะพานหิน อ.วังทรายพูน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง อ.ดงเจริญ และ อ.ทับคล้อ

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

13.3.3, 2.5.1, 2.5.2


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.