• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Senior technical consultant for implementing Wildlife and Protected Areas Finance Solutions

แหล่งทุน
มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
ส่วนงานร่วม
BioFin, UNDP
ผู้ดำเนินการหลัก
ดร. บริพัตร ศิริอรุณรัตน์
ผู้ดำเนินการรอง
คุณนิรันดร์ นิรันดร์นุต
ผู้ดำเนินการรอง
  • National Mekong Committee Secretariats of Cambodia, Lao PDR, Thailand and Viet Nam
  • Department of Hydrology and River Works, Ministry of Water Resources and Meteorology, Cambodia
  • Natural Resources and Environment Research Institute, Ministry of Natural Resources and Environment, Lao PDR
  • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (Office of the National Water Resources )
  • Southern Institute of Ecology, Ministry of Natural Resources and Environment, Viet Nam
  • ผอ. ชลินศรี ไทยยิ่ง Water resources regional office 11
  • จ่าเอก ศักดา สมศรี Department of Fishery
  • นายศุภกิตติ์ ใสกระจ่าง Department of Fishery
  • ผอ.ชาญยุทธ ชื่นตา Marine Department
  • คุณบุญเลิศ แสงระวี EGAT
  • Department of Disaster Prevention and Mitigation,Regional 13
  • นายประเดิม ภาคแก้ว นายมนต์ชัย จันทร์ศิริ Pollution Control Department Regional 12

คำอธิบาย

แนวคิดการจัดทำกลไกการเงินป้ายทะเบียนรถเพื่อการอนุรักษ์ คือ การระดมทุนตามความสมัครใจของประชาชน ที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานอนุรักษ์ธรรมชาติ ผ่านการเป็นเจ้าของป้ายทะเบียนรถแบบพิเศษ

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

โครงการริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOFIN) ภายใต้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Thailand) ดำเนินการในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ 2557 มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยการบริหารจัดการระบบงบประมาณด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย และกฎหมายระเบียบต่างๆ ที่ช่วยให้การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเงินแบบใหม่สามารถริเริ่มได้ในประเทศไทย การทำงานของโครงการ BIOFIN อยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการระดับชาติ คือ “คณะกรรมการกำกับโครงการ BIOFIN ประเทศไทย” โดยมีรองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน

การที่จะทำให้คนร่วมสนับสนุนโครงการ จำเป็นต้องทำการเตรียมยุทธศาสตร์การสื่อสารให้ชัดเจนและเกิดประสิทธิผล ให้สังคมสนใจ และผู้ที่ครอบครองรถยนต์ ผู้ที่สนใจจะซื้อรถใหม่ สนใจว่าโครงการนี้จัดตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างกลไกทางเงินเพื่อสนับสนุนช่องว่างความต้องการงบประมาณในการนำไปช่วยอนุรักษ์สัตว์ป่าและถิ่นอาศัยเพราะงบประมาณปกติของภาครัฐไม่เพียงพอ และประชาชนสามารถช่วยสนับสนุนได้ผ่านการซื้อป้ายทะเบียนพิเศษเพื่อการนี้ และเงินที่ได้จากโครงการนี้มีกระบวนการในการจัดสรรเพื่อนำไปใช้อย่างไร ให้เกิดความโปร่งใส ความมั่นใจ ประชาชนที่สนใจจึงสามารถตัดสินใจเข้าร่วมได้อย่างมั่นใจ มีการสื่อสารสาธารณะและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน สื่อสารให้สังคมทราบอย่างมีประสิทธิภาพ

การดำเนินการ

  • คณะทำงานขับเคลื่อนกลไกการเงิน เรื่อง ป้ายทะเบียนเพื่อการอนุรักษ์ ประกอบด้วยหน่วยงานหลักจากกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมพิจารณาแนวทางที่เป็นไปได้และมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณบางส่วนจากกรมการขนส่งทางบก นำไปใช้ในงานอนุรักษ์ธรรมชาติของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และจัดทำ Roadmap ของโครงการ
  • กำหนดผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมเป็นคณะทำงาน และประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาแผนงานและการปฎิบัติงานของโครงการระยะ 3 ปี (พ.ศ 2566 – 2568)
  • ดำเนินโครงการตามแผนงาน และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกำกับโครงการ BIOFIN ประเทศไทย โดยสามารถขออนุมัติงบประมาณดำเนินงานจาก Global BIOFIN เพื่อดำเนินงานในระยะที่ 2 ต่อไป

ผลการดำเนินงาน

การนำเสนอ Roadmap ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนกลไกการเงิน

การนำไปใช้ประโยชน์

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำร่องกลไกการเงินป้ายทะเบียนรถเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าจะช่วยสร้างรายได้ ผ่านการนำกลไกด้านการตลาดมาระดมทุนจากประชาชนและจัดสรรเงินรายได้ ไปสู่การบูรณาการงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อปิดช่องว่างทางการเงินด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

ยังไม่เคยมีการดำเนินการในประเทศไทย

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

การระดมทุนจากภาคประชาชนเพื่อร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

Key Message

แผนการดำเนินการเพื่อการระดมทุนจากภาคประชาชนเพื่อร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านโครงการป้ายทะเบียนรถเพื่อการอนุรักษ์

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 3 “Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services”

Partners/Stakeholders

  • กรมการขนส่งทางบก
  • สำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  • กองทุนสิ่งแวดล้อม
ภาพประกอบ
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.