• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการทบทวนและจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570

Image
Image
แหล่งทุน
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
ส่วนงานร่วม
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินการหลัก
ผศ. ดร. กุลวดี แก่นสันติสุขมงคล
ผู้ดำเนินการรอง
นางอภิญญา สุนทรธาราวงศ์
นางสาวปรางศิริ ศรีศุภพัชร
นางสาวกนกพร ศิลาดี
นายเอกสิทธิ์ คำนวณวิทย์
นางสาววีรยา เล็กสาริกา

คำอธิบาย

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อสังคม หรือ CSR in Process ซึ่งเป็นการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินงานหลักขององค์กรในทุกขั้นตอน โดยทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรอย่างรับผิดชอบไม่ปล่อยปละละเลย โดยมีการดำเนินงานที่เน้นการพัฒนาและให้บริการทางพิเศษอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นพันธะหน้าที่ของ กทพ. ที่ให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเคารพต่อผลประโยชน์และการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อทบทวนแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ระยะยาว 3 ปี (2564-2566) และจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
2) เพื่อนำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ไปจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและแผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการ
การดำเนินงานโครงการทบทวนและจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ดำเนินการทั้งหมด 11 ขั้นตอน โดยที่ปรึกษาดำเนินการทบทวนและสังเคราะห์ข้อมูลของแต่ละขั้นตอนผ่านการประชุมปฏิบัติการทั้งหมด 12 ครั้ง จากนั้นนำผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเข้าไปประชุมหารือและระดมความคิดร่วมกับส่วนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. จำนวน 6 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการสอบทานข้อมูลกับผู้บริหารของ กทพ. จำนวน 1 ครั้ง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 3 การทบทวนและสรุปความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Advantage: SA) ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Challenge : SC) ของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 5 ทบทวนและจัดทำวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objective : SO)
ขั้นตอนที่ 6 ทบทวนและจัดทำยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การขับเคลื่อนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 7 ทบทวนและจัดทำแผนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 8 ทบทวนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานการจัดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร
ขั้นตอนที่ 9 การจัดทำแนวทางในการทบทวนแผนแม่บทฯ ประจำปี
ขั้นตอนที่ 10 การจัดทำร่างแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
ขั้นตอนที่ 11 การถ่ายทอดแผนสู่การนำไปปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน
การทบทวนแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ได้ปรับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทภายในและภายนอกของ กทพ. มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของ กทพ. ด้วยการสอบทานความเชื่อมโยงและความถูกต้องของขอบเขตวิธีการวัดกับส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดนั้น ๆ เพื่อความถูกต้อง ชัดเจน จากแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ระยะยาว 3 ปี (2564-2566) สู่แผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570

การนำไปใช้ประโยชน์
แผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ได้ถูกถ่ายระดับไปสู่แผนปฏิบัติการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานกับส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ ซึ่งสามารถสะท้อนความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวมได้

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

ในการดำเนินงานมีการทบทวนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. เพื่อให้การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมได้บรรลุผลสำเร็จสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียของ กทพ. ที่ประกอบไปด้วย 7 กลุ่ม ทั้งที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กรซึ่งมีทั้งชุมชนโดยรอบทางพิเศษและสังคม

Key Message

การดำเนินธุรกิจทางพิเศษควบคู่กับการปฏิบัติตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สังคม โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลและเอาใจใส่จาก กทพ.

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
ภาพประกอบ
Image
Image
Image
Image
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.