• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด จังหวัดสมุทรสงคราม

Image
แหล่งทุน
กองทุนสิ่งแวดล้อม
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) จังหวัดสมุทรสงคราม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม
ส่วนงานร่วม
1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม
2. สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม
3. สำนักงานดินจังหวัดสมุทรสงคราม
4. สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม
5. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรสงครา
6. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสมุทรสงคราม
7. สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม
8. สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสงคราม
9. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสงคราม
10. สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสงคราม
11. สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรสงคราม
12. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
13. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารภัยจังหวัดสมุทรสงคราม
14. สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรสงคราม
15. สำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม
16. สถานีที่ดินสมุทรสงคราม
17. โครงการชลประทานสมุทรสงคราม
18. สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสมุทรสงคราม
19. สำนักงานศูนย์ป่าไม้สมุทรสงคราม
20. สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด
21. สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที 8
22. สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 สาขาเพชรบุรี
23. ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2
24. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 7
25. สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 8 (ราชบุรี)
26. สถานีอุตุนิยมวิทยาสมุทรสงคราม
27. การประปาส่วนภูมิภาค สาขาสมุทรสงคราม
28. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาสมุทรสงคราม
29. สถานีรถไฟสมุทรสาคร
30. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม
31. สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
32. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรามชาจิและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรสงคราม
ผู้ดำเนินการหลัก
ผศ.ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน
ผู้ดำเนินการรอง

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม และ 34 หน่วยงานจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับ จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อสนับสนุนการบรรลุ Nationally Determined Contribution ในการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 30-40 ภายใน พ.ศ. 2573

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มี
ความชัดเจนและรุนแรงขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 นำมาสู่
ความร่วมมือในการลด และดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน โดยทั้ง 195 ประเทศ ที่เข้าร่วม
ความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement ในการประชุม COP21 ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) ได้จัดทำการมีส่วนร่วมที่เป็นประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution – NDC) และกำหนดเป้าหมายการลด และดูซับก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ. 2573 โดยประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายที่ร้อยละ 30-40 เปรียบเทียบกับกรณีปกติ (BAU)  ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว พร้อมทั้งวางแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผ่านกองทุนสิ่งแวดล้อม ดำเนินโครงการ “การพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” ในพื้นที่ 51 จังหวัด เพื่อจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบจังหวัดสมุทรสงคราม

 

การดำเนินการ

ภายใต้การดำเนินงานโครงการ จังหวัดสมุทรสงครามได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย 34 หน่วยงานทั้งในพื้นที่ และหน่วยงานจากส่วนกลางเข้าร่วม โดยมีการประชุมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ซึ่งสรุปผลลัพธ์ และแผนการดำเนินงานสำหรับแต่ละการประชุมได้ดังนี้

 

 

ผลลัพธ์

แผนการดำเนินงาน

ประชุมครั้งที่ 1

(8 มีนาคม 2566)

√ ข้อมูลกิจกรรมปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนพลังงาน ขนส่ง การจัดการของเสีย กระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และภาคการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่างปี 2557-2565

› ลงพื้นที่เข้าสัมภาษณ์ชี้แจงโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่

ประชุมครั้งที่ 2

(8 มิถุนายน 2566)

√ ปริมาณการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสมุทรสงครามในปี 2562 (ปีฐาน)

√ การคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต ระหว่าง 2566 ถึง 2573

√ การทบทวนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด

› คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากข้อมูลที่รวบรวมในพื้นที่ โดยอ้างอิงหลักการคำนวณของ IPCC

› ศึกษาแนวโน้มการดำเนินกิจกรรมการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก ระหว่าง ปี 2557 ถึง 2565 เพื่อคาดการณ์การปล่อยระหว่างปี 2566 ถึง 2573

› จัดทำร่างเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและเสนอให้คณะทำงานฯ พิจารณา

ประชุมครั้งที่ 3

(8 กันยายน 2566)

√ แผนการลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัด

√ รายงานสภาพการณ์
ความเสี่ยง (Risk Profile)  จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัด จาก 6 สาขา ได้แก่ 1) การจัดการน้ำ 2) การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร 3) การท่องเที่ยว 4) สาธารณสุข 5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ 6) การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์

› จัดทำมาตรการและศักยภาพในการลด
ก๊าซเรือยกระจก ระหว่างปี 2567 ถึง 2573

› ทบทวนวรรณการงานวิจัย และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามที่ผ่านมา

› ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสัมภาษณ์หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ ทั้ง 6 สาขา เพื่อรวบรวมข้อมูลความเสี่ยงต่าง ๆ

ประชุมครั้งที่ 4

(24 พฤศจิกายน 2566)

√  มาตรการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัด

› นำผลความเสี่ยงที่ได้ พิจารณาร่วมกับแผนงานในระดับประเทศ
กลุ่มจังหวัด และจังหวัด เพื่อพัฒนามาตรการปรับตัวฯ

› นำมาตรการปรับตัวเข้าหารือกับคณะทำงานฯ เพื่อกำหนดเป็นมาตรการของจังหวัด

ประชุมครั้งที่ 5

(12 มกราคม 2567)

√  แผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

√  สรุปผลการดำเนินงานทั้งหมดของโครงการ

› ถอดมาตรการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ร่วมกับคณะทำงานฯ

› ทบทวน และสรุป
แผนการลด
ก๊าซเรือนกระจก มาตรการและแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัดสมุทรสงคราม

 

ผลการดำเนินงาน

1.      แผนการลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสมุทรสงคราม

ในปี พ.ศ. 2562 (ปีฐาน) จังหวัดสมุทรสงครามมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับ 543,835 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยเรียงลำดับภาคส่วนที่ปล่อยมากที่สุดถึงน้อยที่สุด ได้แก่ ภาคขนส่ง (ร้อยละ 52.03)
ภาคพลังงาน (ร้อยละ 43.31) ภาคการจัดการของเสีย (ร้อยละ 8.00) และ
ภาคเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามลำดับ ทั้งนี้ ไม่มีกระบวนการอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ ทั้งนี้ การคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2573 จะปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 1,049,412 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 6.16 ต่อปี ซึ่งในกรณีดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกทั้ง 17 มาตรการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบกับกรณีปกติ (BAU) ในปี 2573 ร้อยละ 10.6
ในกรณีที่จังหวัดดำเนินมาตรการเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการกำจัดขยะ โดยการเผาด้วยระบบ RDF หรือ การรวบรวมก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า จะสามารถลดการปลดปล่อยได้ร้อยละ 12.0 และร้อยละ 13.2 ตามลำดับ

 

2.      แผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม

จากการวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ในรายงานแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ สามารถสรุปลักษณะความเสี่ยงของจังหวัดสมุทรสงคราม ดังนี้ สาขาการจัดการน้ำ อุทกภัยและภัยแล้ง (มีความเสี่ยงต่ำมาก) สาขาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ไม่มีความเสี่ยง) สาขาการท่องเที่ยว (ไม่มีความเสี่ยง) สาขาสาธารณสุข (มีความเสี่ยงโรคไข้เลือดออก) สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (มีความเสี่ยงต่ำ) สาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (ไม่มีความเสี่ยง และมีความเสี่ยงต่ำมากในอนาคต (ปี ค.ศ. 2099 หรือ พ.ศ. 2642 โดยสรุปผลจากการพยากรณ์ตามสภาพการณ์ภูมิอากาศด้วยสถานการณ์ RCP 4.5 และ RCP 8.5) เมื่อวิเคราะห์ดัชนีความเสี่ยงจากปัจจัยที่กำหนดเองสาขาต่างๆ ทั้ง 6 สาขามีค่าอยู่ในช่วงค่อนข้างต่ำ หากเมื่อประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่ ในรายสาขาทั้ง 6 สาขาโดยแท้จริงแล้วจังหวัดสมุทรสงครามมีความเสี่ยงหลัก 2 ประเด็น ได้แก่
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลส่งผลให้เกิดการรุกล้ำน้ำเค็มและน้ำทะเลหนุนสูง ทั้งนี้ ในแผนนำเสนอโครงการ จำแนกเป็นมาตรการ/ แนวทางปรับตัวเชิงกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการ/ แนวทางสังคม มาตรการ/ แนวทางเชิงสถาบัน

 

การนำไปใช้ประโยชน์

ผลของโครงการ คือ แผนการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับ จังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบกับอีก 76 จังหวัด เป็นข้อมูลให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการบรรลุ Nationally Determined Contribution ในการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 30-40 ภายใน พ.ศ. 2573 รวมทั้ง เตรียมรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

 

 

ผลงานตีพิมพ์

รายงานสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) โครงการการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงาน
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด (จังหวัดสมุทรสงคราม)

 

https://samutsongkhram.mnre.go.th/th/information/more/1869
(หัวข้อ รายงานสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary))

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

โครงการมีความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และ NGO อย่างครบถ้วน ผ่านกลไกการทำงานของจังหวัด ด้วยคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย 34 หน่วยงานทั้งในพื้นที่ และหน่วยงานจากส่วนกลางเข้าร่วม

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

โลก (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบทั่วโลก)

Key Message

การบรรเทาและรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องของทุกภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาแผนการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

การประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ครั้งที่ 1/2566

https://samutsongkhram.mnre.go.th/th/news/detail/148844

 

การประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ครั้งที่ 2/2566

https://samutsongkhram.mnre.go.th/th/news/detail/158061

การประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ครั้งที่ 3/2566

https://samutsongkhram.mnre.go.th/th/news/detail/164730                

 

การประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ครั้งที่ 4/2566

https://samutsongkhram.mnre.go.th/th/news/detail/171344

 

การประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ครั้งที่ 5/2566

https://samutsongkhram.mnre.go.th/th/news/detail/174211

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional/Academic Services

Partners/Stakeholders

ทุกหน่วยงานภาครัฐ เอกชน NGO ประชาชน ในจังหวัดสสมุทรสงคราม

ภาพประกอบ
Image
Image
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.