• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มของเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

(Evaluation and comparison of environmental and economic aspects between individual and large scale farmers to alternative mitigation options)

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Evaluation and comparison of environmental, economic and management aspects between individual and large scale farmers to alternative mitigation options

แหล่งทุน

-

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

 

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์ 

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ 

คำอธิบาย

การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่มีข้อดี 3 ด้าน 1) ดีต่อสิ่งแวดล้อม คือ ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อม 2) ดีต่อรายได้ คือ ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และ 3) ดีต่อสังคม คือ ช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรคนไทยอยู่ในภาคการเกษตร ในขณะเดียวกัน เกษตรกรรมปัจจุบันนับว่ามีผลต่อการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การปล่อยก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์จากนาข้าว และเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนในนาข้าว ดังนั้น การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมจึงเป็นแนวทางที่ประชาคมโลกกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นแนวทางที่มีศักยภาพเชิงต้นทุน (คุ้มค่าในการลงทุน) อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย  คือ 1. เพื่อประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ การใช้พลังงาน การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก) และด้านเศรษฐกิจ (ต้นทุนและผลตอบแทน) ของเกษตรกรรายย่อย และการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ 2. เพื่อประเมินทางเลือกในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบผลิตข้าว ตลอดห่วงโซ่การผลิต และ 3. เพื่อศึกษาบทบาทของการสื่อสาร การมีส่วนร่วม และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

จุดเด่นของผลดำเนินงานโครงการสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ คือ องค์ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการทำนาแปลงใหญ่ และประโยชน์ของการรวมกลุ่มของเกษตรกร และทำให้เกษตรกรในชุมชนเห็นว่า การทำนาแปลงใหญ่ ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตข้าว (ช่วยลดโลกร้อน) ช่วยลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ประกอบกับ การทำ “นาแปลงใหญ่” ดีต่อรายได้ ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และการทำ “นาแปลงใหญ่” ยังดีต่อสังคมช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน

 

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารภายในชุมชนเพื่อเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มนาแปลงใหญ่ แกนนำกลุ่มมักเริ่มต้นจากการพูดให้เกษตรกรเข้าใจและยอมรับปัญหาของตนเอง เช่น ปัญหาหนี้สิน การทำนาแล้วขาดทุน ขาดองค์ความรู้เรื่องข้าว พร้อมกับเน้นให้เกษตรกรติดตามรับฟังนโยบายของรัฐบาลที่สื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ  สำหรับการสื่อสารภายนอกกลุ่ม หรือ การสื่อสารระหว่างกลุ่ม มักสื่อสารผ่านการฝึกอบรม และแปลงเรียนรู้ จนนำไปสู่ความสำเร็จที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ผ่านงานวิจัยนี้

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยในชุมชน ท้องถิ่น จำนวน 2 ชุมชน คือ 1.กลุ่มเกษตรกรพอเพียงตำบลรังนก และ 2.กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านบึงประดู่ เมื่อเกษตรกรนำกระบวนทำนาแบบแปลงใหญ่ไปปฏิบัติ ซึ่งได้เห็นผลจากงานวิจัยนี้ที่บ่งชี้ว่าช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิ และที่สำคัญช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม และได้ใช้ประโยชน์  ได้ความรู้จากโครงการวิจัยนี้ ในการอบรมสมาชิกใหม่ เกษตรกรอื่น ๆ ที่เข้ามาอบรมและดูงานในพื้นที่  นับได้ว่าเป็นผลกระทบเชิงบวกจากงานวิจัย หรือ การต่อยอดงานวิจัยเกษตรรายย่อย และการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

SDG 13

 

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

SDG 2

รูปภาพประกอบ

รูปหน้าปก

 

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

 

การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

อัลบั้มภาพ

 

Partners/Stakeholders

-

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

-


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.