• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อขอการรับรองสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566

Image
แหล่งทุน
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ส่วนงานหลัก
รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต
ส่วนงานร่วม
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต
ผู้ดำเนินการรอง

คำอธิบาย

การพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยการตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre-Audit) ให้คำแนะนำในการดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อม สำนักงาน/อาคารของ กฟภ. ที่ขอรับการรับรองสำนักงานสีเขียว จำนวน 11 แห่ง และตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Online) จำนวน 62 แห่ง และตรวจประเมินในพื้นที่จริง (Onsite) อย่างน้อย จำนวน 11 แห่ง ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสำนักงาน กฟภ. ให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ มีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ตลอดจนเพื่อยกระดับมาตรฐานสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักการของสำนักงานสีเขียว มุ่งสู่มาตรฐานสิ่งแวดล้อม อันจะทำให้เกิดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดย กฟภ. ได้เริ่มโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน เพื่อมุ่งเน้นการเปลี่ยนพฤติกรรมพนักงานในสำนักงาน ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะ ลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดมลพิษ ด้วยการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) เป็นต้น ในการดำเนินงานนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสำนักงานของ กฟภ. ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียวจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายอาคาร/สำนักงานที่ได้รับการรับรองในปี 2566 จำนวน 62 แห่งทั่วประเทศ

การดำเนินการ
  1. ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวเบื้องต้น (Pre-Audit) เพื่อเตรียมความพร้อม สำนักงาน/อาคารของ กฟภ. จำนวน 11 แห่ง ในพื้นที่จริง (On site) และตรวจผ่านระบบออนไลน์ (On Line) ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  2. ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ สำนักงาน/อาคารของ กฟภ.ผ่านระบบออนไลน์ (Online) จำนวน 62 แห่ง และตรวจประเมินในพื้นที่จริง (Onsite) อย่างน้อย จำนวน 11 แห่ง (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 11 เขตๆละ 1 แห่ง) ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  3. วิเคราะห์และสรุปปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (tCO2e) ของสำนักงาน/อาคารของ กฟภ. จำนวน 62 แห่ง


ผลการดำเนินงาน

  1. จากการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 62 แห่ง พบว่ามีสำนักงานที่ผ่านเกณฑ์สำนักงานสีเขียวระดับดีเยี่ยม (G-ทอง) จำนวน 62 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100
  2. เมื่อเปรียบเทียบปริมาณก๊าซกระจกเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนแยกตามรายการระหว่างปีฐานและปี 2566 พบว่าค่าเฉลี่ยในปี 2566 ลดลงจากปีฐานร้อยละ 7.77 เมื่อแยกเป็นแต่ละรายการพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันดีเซลรถยนต์ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักมีปริมาณลดลงจากปีฐานเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 4.62 และ 19.53 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปริมาณการปล่อยมีเทนจากบ่อบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศลดลงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 73.81 รองลงมาคือ ขยะของเสีย (ฝังกลบ) คิดเป็นร้อยละ 46.84 และการใช้แก๊สโซฮอล์ในรถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 25.56 ตามลำดับ

การนำไปใช้ประโยชน์

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สาขาต่างๆได้นำเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวไปประยุกต์ใช้ในปี 2567

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย และดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases: GHG) ออกสู่บรรยากาศในทุกภาคส่วน

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

  1. ลดค่าใช้จ่ายในสำนักงาน เช่น ค่าไฟฟ้า อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
  2. ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Key Message

ส่งเสริมให้สำนักงานนำความรู้และแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตรวจประเมินและให้การรับรองสำนักงานที่มีการดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 3 “Policy Advocacy and Leaders in  Professional / Academic Services”

Partners/Stakeholders

1) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

2) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ภาพประกอบ

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.