• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

แผนงานการศึกษากลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวบนความยั่งยืน

Study of Financial Mechanism for Natural Heritage Management on Sustainable Tourism Perspective

แหล่งทุน

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธรรมรัตน์ พุทธไทย 

ผู้ดำเนินการร่วม

อาจารย์ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง จ.ตรัง)

คำอธิบาย

 

การปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นฟู อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ การจัดการกลไกทางการเงินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเสนอแหล่งที่มาของรายได้และวิธีการจัดสรรด้านการเงินเพื่อชดเชยกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

เพื่อจัดทำโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

การดำเนินการ

1. กำหนดแผนการดำเนินโครงการโดยภาพรวม และโครงการย่อยทั้ง 2 โครงการ

2. ประสานงานกับอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ด้าน Commercial area

3. รวบรวมชั้นของข้อมูลเพื่อนำไปสู่การซ้อนทับของข้อมูล (Overlay)

4. ประมวลผลเพื่อเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมด้าน Commercial area ของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

5. ร่วมสัมภาษณ์และลงพื้นที่กับโครงการวิจัยย่อย เพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยให้เป็นไปในทิศทางการดำเนินการวิจัยที่วางไว้

6. สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน วิเคราะห์เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน และการใช้ทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว และฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ

7. รวบรวมข้อมูลจากโครงการย่อยเพื่อจัดทำรูปแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

8. สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน เพื่อทำให้ทราบความเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดทำกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

9. นำข้อมูลความเห็นที่ได้มาเพิ่มเติม/ปรับปรุงผลวิจัยเกี่ยวกับกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

10. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดทำโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

ผลการดำเนินงาน

พบว่า กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานเป็นแรงงานที่อยู่ในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ลดลง โดยกลุ่มที่มีความเปราะบางมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเปราะบางที่เป็นแรงงานไร้ทักษะ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งเป็นสาขาตัวแทนบริษัทนำเที่ยวและการขายสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ พนักงานบริการร้านอาหาร มัคคุเทศก์ พนักงานโรงแรม และกลุ่มชุมชนในพื้นที่ กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการที่ระบบนิเวศดีขึ้น ได้แก่ นักท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำลึก นักท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนทั่วไป และผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากมรดกอาเซียน งานวิจัยนี้ได้นำเสนอโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ใช้การบริหารจัดการผ่านกองทุนที่เรียกว่า กองทุนการพักฟื้นระบบนิเวศเพื่อความยั่งยืน ซึ่งกองทุนนี้มีการบริหารจัดการผ่านหน่วยงานด้านเทคนิค เป็นคณะกรรมการที่พิจารณาการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หน่วยงานด้านวิชาการ เป็นคณะกรรมการที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และหน่วยงานติดตามและประเมินผล เป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการใช้เงินทุน แหล่งที่มาของเงินทุนมาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการจากกลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการ การรับบริจาค และการระดมเงินลงทุน โดยช่องทางการใช้จ่ายเงินของกองทุนมี 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) การจ่ายเงินให้กับผู้ดูแลระบบนิเวศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานโดยได้รับเงินชดเชยจากการปิดอุทยานแล้ว ต้องมีหน้าที่ดูแลระบบนิเวศ และ 2) การยกระดับการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว ซึ่งมีแนวทางส่งเสริม ประกอบด้วย 1) การปล่อยกู้ให้กับสมาชิกเพื่อการพัฒนากิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) การฝึกอบรมให้กับสมาชิกเพื่อยกระดับความรู้ 3) การสนับสนุนงานวิชาการ 4) การพัฒนา Nature-Based infrastructure และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว และ 5) การส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นในช่วงนอกฤดูกาลการท่องเที่ยวเพื่อการเป็นจุดหมายปลายทางที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

การนำไปใช้ประโยชน์

 

มีผลงานตีพิมพ์

 

Abstract

From the policy concept of closing national parks for natural resource restoration, it is an idea that pays attention to the economy and conservation of natural resources at the same time. However, it will affect the tourism economy when the national park is closed. Local communities and entrepreneurs will lose their income and employment during the national park closure. Meanwhile, natural resources recover through increased ecological integrity and biodiversity. The ultimate goal of the research is to propose a financial mechanism for the management of natural heritage for sustainable tourism. The scope of the study area is Hat Chao Mai National Park in Trang province.

 

The results of this research found that the group affected by the closure of the national parks was a decline in tourism activity. The most vulnerable groups were unskilled workers who were the most affected. These unskilled workers are travel agencies and sales of tourism products, such as restaurant service staff, tour guides, hotel staff and community groups in the area. Beneficiaries who benefit from the better ecosystem are tourists in scuba diving groups, leisure tourists and entrepreneurs who benefit from ASEAN heritage parks. Finally, this research presents a model financial mechanism for managing natural heritage for sustainable tourism. It is managed through the so-called fund of “Sustainable Ecosystem Recovery Fund”. This fund is managed through technical department who is a committee that considers financial assistance, academic department who is a committee that provides academic assistance and monitoring and evaluation agency who is a committee for monitoring and evaluating the use of funds. This fund receives funding from three major sources - collecting fees from beneficiaries’ groups, donations, and fundraising. There are two methods of expenditure of funds for the fund: 1) payments to the ecosystem administrator who affected by the closure of the national park has received compensation for the closure of the park. and must be responsible for maintaining ecosystems and 2) upgrading to tourism destinations, consisting of 1) lending to members for the development of environmentally friendly businesses 2) training for members to upgrade their knowledge 3) supporting academic work 4) developing nature-based infrastructure and tourism facilities and 5) promoting tourism during the low season as a tourism destination that can be traveled all year round.

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

งานวิจัยนี้จะสามารถทำให้ทราบรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ กรณีการปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อพักฟื้นทรัพยากรธรรมชาติ และการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์และแรงจูงใจทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพักฟื้นทรัพยากรธรรมชาติ

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ระดับชุมชน - โมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

ระดับประเทศ-สร้างโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีปิดอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นฟู

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

8

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

12

รูปหน้าปก 

รูปหน้ารายละเอียด

ไฟล์แนบรูป

Key Message

การวิเคราะห์กลไกทางการเงินที่สามารถชดเชยรายได้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานแห่งชาติ ก่อให้เกิดความสามารถในการรักษาสมดุลระหว่างผู้ที่ใช้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์หรือกลุ่มเปราะบาง

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม – เกาะลิบง

ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับท่องเที่ยว ชุมชนในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

 


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.