หัวข้อ |
รายละเอียด |
ชื่อโครงการ MU-SDGs Case Study |
เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน Internal Household Organic Waste Digester |
แหล่งทุน |
- |
ส่วนงานหลัก |
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ |
ส่วนงานร่วม |
บริษัท เอ็นไวสมาร์ทเทค จำกัด |
ผู้ดำเนินการหลัก |
ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ |
ผู้ดำเนินการร่วม |
- |
คำอธิบาย |
หลักการทำงานโดยการเติมอากาศในระหว่างการย่อยสลาย เพื่อเร่งการย่อยสลายของจุลินทรีย์ โดยสามารถย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง |
เนื้อหา MU-SDGs Case Study |
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะปัญหาด้านการจัดการขยะอินทรีย์ทั้งแบบเหลือทำและเหลือทานที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณขยะมูลฝอยจากครัวเรือน ชุมชน และสถานประกอบการ ในจำนวนนี้มีขยะอินทรีย์จำนวนมากถูกทิ้งปะปนกับขยะประเภทอื่นๆ ทำให้การจัดการขยะในภาพรวมไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน (อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7860) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ณ ต้นทาง เพื่อลดปริมาณของเสียประเภทอาหาร และของเสียที่ต้องนำไปยังหลุมฝังกลบ อีกทั้งยังเป็นการลดภาระและงบประมาณในการจัดการของส่วนกลาง เพื่อมุ่งสู่วัฒนาธรรมการบริโภคอย่างยั่งยืน อีกทั้งการจัดการขยะอินทรีย์ที่ต้นกำเนิดโดยเฉพาะอาหารที่เหลือทิ้งและเศษอาหารจากการเตรียมจากบ้านเรือนจะทำให้สัดส่วนของขยะอินทรีย์ปนเปื้อนเข้าไปสู่ระบบการรวบรวมและจัดการขยะของส่วนกลางหรือเทศบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การดำเนินการ เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนมีหลักการทำงาน โดยมีการเติมอากาศในระหว่างการย่อยสลาย เพื่อเร่งกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศให้มากเกินพอ และเป็นการลดความร้อนในระบบ ทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศในระบบ และยังมีระบบการกวนผสมระหว่างขยะอินทรีย์ และ bulking agent ตลอดระยะเวลาการย่อยสลายเพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างจุลินทรีย์กับ bulking agents ส่งผลให้การกำจัดขยะอินทรีย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยเครื่องนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ประชาชน และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะอินทรีย์ ณ ต้นทาง และส่งผลดีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาพรวมต่อไป โดยเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน สามารถทำงานได้โดย นำขยะอินทรีย์ที่ผ่านการกรองเอาน้ำออกบางส่วนแล้วเข้าเครื่องโดยผ่านทางฝาเปิดเพื่อนำขยะเข้าซึ่งจะอยู่บริเวณด้านบนของเครื่อง บริเวณกึ่งกลางภายในตัวเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนจะมีแกนหมุนที่ซึ่งมีแกนสำหรับกวนผสมยึดติดอยู่ โดยแกนหมุนจะทำงานได้โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ ทำหน้าที่กวนเพื่อให้ขยะผสมกับวัสดุที่ใช้เพื่อให้จุลินทรีย์ยึดเกาะ ที่ซึ่งสามารถเลือกได้จาก ส่วนผสมของขี้เลื่อย และมีการเติมอากาศโดยใช้ปั๊มลมขนาดเล็กต่อท่อผ่านไปยังแกนหมุนที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง โดยอากาศจะถูกเติมเข้าไปในระบบผ่านทางปลายท่อเพื่อช่วยทำให้เกิดการเติมอากาศขณะการย่อยสลาย ทำให้กระบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถนำขยะที่ผ่านการย่อยสลายแล้วออกทางฝาเปิดด้านบน โดยตัวเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนสามารถติดตั้งในตำแหน่งพื้นที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก ผลการดำเนินงาน ปัจจุบันนวัตกรรมนี้ได้มีการผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท เอ็นไวสมาร์ทเทค จำกัด ซึ่งเริ่มผลิตและจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ปัจจุบันจำหน่ายไปแล้วกว่า 200 เครื่อง โดยมีการจำหน่ายให้กับกลุ่มครัวเรือน ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักอาศัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน วัด รวมถึงสถานศึกษาที่สนใจ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ ที่สามารถรีไซเคิลได้ โดยการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นวัสดุปลูกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะถูกลำเลียงไปยังหลุมฝังกลบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำไปใช้ประโยชน์ ปัจจุบันทาง บริษัท เอ็นไวสมาร์ทเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์ ได้ทำการผลิตเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ออกมาหลายขนาดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและข้อจำกัดด้านพื้นที่ของผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย เครื่องย่อยขยะอินทรีย์ขนาด 20, 35, 60 และ 120 ลิตร จากข้อมูลการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ สามารถสรุปกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสนใจในการนำเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ไปใช้เพื่อจัดการขยะอินทรีย์ ดังนี้ - ครัวเรือน: สำหรับภาคครัวเรือนได้ให้ความสนใจในการนำเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ไปใช้ในการจัดการขยะเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้บริโภคไม่เพียงแต่จะสามารถจัดการกับขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังได้ผลพลอยได้เป็นวัสดุปลูกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วยเช่นกัน - หน่วยงานภาครัฐ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร, องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา, ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี, วัดถ้ำกระบอก, ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา โดยทางหน่วยงานภาครัฐได้มีการนำไปใช้ภายในหน่วยงาน และมีการจัดฝึกอบรมการประกอบเครื่องเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และได้นำไปใช้งานเพื่อให้เกิดการจัดการขยะอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน - สถานศึกษา: สถานศึกษาได้ให้ความสนใจในการนำเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ไปใช้ในการจัดการกับขยะเศษอาหารที่เหลือทิ้งจากการรับประทานอาหารของโรงอาหารส่วนกลาง ไม่เพียงแต่จะสามารถจัดการกับขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับทั้งครูและนักเรียน ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ การเปลี่ยนรูปขยะให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ - สถานประกอบการประเภทร้านอาหาร: สถานประกอบการประเภทร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆของประเทศไทย ได้ให้ความสนใจในการนำเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ไปใช้ในการจัดการขยะอินทรีย์ที่ขยะอินทรีย์หลักๆมาจากกระบวนการเตรียมอาหาร เพื่อสามารถเปลี่ยนรูปขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นวัสดุปลูก หรือธาตุอาหารให้กับพืชได้ด้วยเช่นกัน |
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ |
โครงการเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เป็นการออกแบบกระบวนการย่อยสลายโดยเลียนแบบการย่อยสลายในธรรมชาติ และอาศัยกระบวนการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ในธรรมชาติที่ใช้อากาศ ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นการเร่งปฏิกิริยาการย่อยตามธรรมชาติ โดยการเติมอากาศเพื่อให้สามารถย่อยสลายได้ในระยเวลาภายใน 48 ชั่วโมง |
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก |
เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์เป็นการส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ ได้ตั้งแต่ต้นทาง และสามารถกำจัดอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังได้ผลพลอยได้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งการแยกขยะและกำจัดอย่างถูกวิธีเป็นการลดปริมาณขยะที่จะถูกขนส่งไปยังแหล่งฝังกลบ สามารถลดการปนเปื้อนของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน และแหล่งธรรมชาติ ลดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิต หากทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะ และกำจัดอย่างถูกวิธี ก็จะสามารถลดปริมาณขยะ ลดการเผาไหม้ และลดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมค่อยๆเกิดการฟื้นฟู ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งชุมชน และโลกในระยะยาว |
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม |
SDG 12 12.3 ลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี 2573 12.5 ลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี 2573 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง
|
6.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านกระบวนการลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนทั่วโลก ภายในปี 2573 12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2573 |
รูปภาพประกอบ |
|
รูปหน้าปก |
|
รูปหน้ารายละเอียด |
|
Key Message
|
“การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะประเภทอื่นๆตั้งแต่ต้นทาง และการกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะที่จะถูกฝังกลบ อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน” |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม
|
https://www.youtube.com/watch?v=tAjl9vn8Amk&t=5s
|
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย |
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation |
อัลบั้มภาพ |
|
Partners/Stakeholders |
- |
ตัวชี้วัด THE Impact Ranking |
- |