การประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย

"การประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย"

การประชุมเพื่อเสนอแนะแนะข้อคิดเห็น

ร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การประเมินองค์ความรู้เมืองยั่งยืนในประเทศไทย”

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 สำนักงานกองกองสนุบสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม ฐานะสำนักประสานงานชุดโครงการเมืองยั่งยืน ได้จัดการประชุมให้ข้อคิดเห็นร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การประเมินองค์ความรู้เมืองยั่งยืนในประเทศไทย” ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ ร่วมกับรองศาสตราจารย์กิติกร จามรดุสิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม และหัวหน้าผู้วิจัยคือผู้ช่วยศาสตราจารย์วิจิตรบุษบา มารมย์ และคณะนักวิจัย จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมประชุมพร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ โดยสำหรับการประชุมเพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็นร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์นั้น ทางที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับตัวร่างรายงานวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดงานวิจับในอนาคตดังนี้

ร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การประเมินองค์ความรู้เมืองยั่งยืนในประเทศไทย” ร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การประเมินองค์ความรู้เมืองยั่งยืนในประเทศไทย”

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของงานวิจัย

คือผลงานวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดี คุณภาพของผลงานเป็นที่น่าพอใจ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและเป็นไปตามแผน เนื่องจากงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงแง่มุมต่างๆ มีประเด็นสำคัญที่เป็นการทบทวนสาระและความเข้าใจเรื่องเมืองยั่งยืนทั้งในบริบทสากลและการตีความออกมาเป็นแผนนโยบายของไทยโดยเฉพาะการทำให้มองเห็นพัฒนาการของนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของการประยุกต์ใช้แนวความคิด “ยั่งยืน” ในไทยได้อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้เห็นถึงความสอดคล้องและความขัดแย้งกันของบริบทความยั่งยืนของเมือง รวมถึงการมองเห็นภาพในการพยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืนในประเทศไทยและสถานภาพขององค์ความรู้ ซึ่งควรมีการศึกษาพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในหลายๆด้าน เพื่อที่จะใช้เป็นฐานในการวางแผนและนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้

ประโยชน์ที่ได้รับ หรือสิ่งคาดว่าจะได้รับ

งานวิจัยนี้ช่วยให้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และแนวคิดของเมืองที่ได้ถูกรวบรวมเอาไว้เป็นข้อมูลฐาน สามารถนำงานวิจัยไปปรับใช้และประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถานศึกษา นอกจากนี้ผลของการประมวลความรู้ยังสามารถนำไปต่อยอดในระดับนโยบายและแผนในบริบทของประเทศรวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติได้

ข้อเสนอแนะอื่นๆ เพื่อนำผลงานนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

งานวิจัยนี้ควรใช้เป็นฐานใน forum นักวิจัย-นักวางแผนเมือง เพื่อให้เกิดหัวข้อ/โจทย์ที่ชัดเจน อันจะนำไปสู่การศึกษาเชิงลึกในการหาประเด็นปัญหาที่แท้จริง การระบุช่องว่างของความรู้ การออกแบบวิธีแก้ไข การขยายสาระความรู้เรื่องความยั่งยืนในหลากหลายมิติ นอกจากนี้ การทบทวนวรรณกรรมด้านกฎหมาย (Legislation) การเงินสนับสนุน (Budgeting) และการพิจารณาหรือประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยการพัฒนาและผลักดันไปสู่แผนและนโยบายที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ การเสนอต่อภาครัฐเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนและนโยบายต่อไป การเผยแพร่รายงานออกสู่สาธารณะและการเปิดให้สามารถดาวโหลดผลงาน หรือรายงานออนไลน์กับหน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องก็เป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานได้ดี

ร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การประเมินองค์ความรู้เมืองยั่งยืนในประเทศไทย”