Eco Industry Research and Training Center

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม

 

 

ที่มาและความสำคัญของการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรม

จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยส่งผลให้เกิดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเพิ่มมากขึ้นในส่วน ของภาคอุตสาหกรรม ดังจะสังเกตได้จากข้อมูลสถิติจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการใหม่และปริมาณเงินลงทุน ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาติประกอบกิจการใหม่ภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอดในระยะเวลา 5-6 ปี ที่ผ่านมา (http://www.industrythailand.com) คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าผลจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี การเติบโตของเศรษฐ กิจในภาคอุตสาหกรรม และการเพิ่มจำนวนมากขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศดังกล่าวนั้น ปัจจุบันได้ส่งผลกระทบ โดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยา และสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ใกล้เคียงที่มีโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ ทั้งมล ภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง รวมถึงการปล่อยของเสีย และการทิ้ง ของเหลือจากกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่ระบบนิเวศวิทยาบริเวณใกล้เคียง ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุหลัก ของอุตสาหกรรมที่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น แนวทางการแก้ไขปัญหามลภาวะที่เกิดจากอุตสาหกรรมในปัจจุบันมัก มุ่งประเด็นไปที่การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ อันได้แก่การติดตามเฝ้าระวังผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง รวมถึงการ นำเอาเทคโนโลยีการบำบัดใหม่ๆมาใช้กับของเสียที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมก่อนปล่อยสู่ระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวมักนำไปสู่การเพิ่มขึ้นในแง่ของต้นทุนการผลิต และราคาของผลิตภัณฑ์ รวมถึงไม่นำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ

แนวทางและทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) ของภาคอุต สาหกรรมสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยคำนึงถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ การสร้างสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและ การปกป้องรักษาระบบนิเวศไปพร้อมๆกัน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก โดยยึดหลักการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วยวิธีการ เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติและลดการปล่อยมลพิษซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หลักการสร้าง สมดุลดังกล่าวข้างต้นสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จากการประยุกต์ใช้หลักการทางทฤษฎีต่างๆ เช่น ทฤษฎีนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Ecology) ทฤษฎีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) และ ทฤษฎีเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology) เป็นต้น ในการที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศสามารถพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันจะนำมาสิ่งคุณภาพชีวิตของคนในประเทศไทยดีขึ้น

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประสบการณ์การทำงานอันยาวนานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การ วิจัย การจัดหลักสูตรฝึกอบรม และให้บริการทางวิชาการด้านนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม คณะฯมีโปรแกรมวิชานิเวศ วิทยาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโท และมีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับ
นิเวศวิทยาอุตสา หกรรมในระดับปริญญาเอก โดยหัวข้อการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมที่เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาโท และเอก อาทิเช่น วิชานิเวศวิทยาอุตสาหกรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน วิชาเทคโนโลยีสะอาด และวัฎจักรชีวิต เป็นต้น มีการส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษาทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมโดยมีการเชื่อมโยงระเบียบความคิด และแนวทาง วิจัยให้ภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีและแนวทางการเติบโตทาง เศรษฐกิจที่ผิดพลาดและไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ประเด็นหัวข้องานวิจัยที่ผ่านมาและจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การศึกษาวิจัยการเวียนใช้ของเศษพลาสติกอะคริลิกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต การศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์อะคริลิกใสใส่ใจ สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของเขตพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นต้น อาจารย์และนักวิจัยของคณะฯได้ทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ การให้สัมภาษณ์ การเป็นวิทยากร การเป็นที่ปรึกษาโครงการ การเข้าร่วมสัมมนา และเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการทั้งระดับประเทศและนานาชาติ นอกจากนี้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะฯ ได้ทำการฝึกอบรมหลักสูตรนานา ชาติหัวข้อเรื่องนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เข้าฝึกอบรมที่มาจากประเทศใกล้เคียงในแถบภูมิภาคเอเชีย อีกด้วย

ศูนย์วิจัยวิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมที่จะจัดตั้งขึ้นจะเป็นศูนย์ปฏิบัติ งานที่ครบวงจรทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย การฝึกอบรม และการให้บริการทางวิชาการกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์เชื่อมโยงและประสานการดำเนินงานของเครือข่าย ต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และองค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยืน ของภาคอุตสาหกรรม

 

 

วัตถุประสงค์

       1. ทำหน้าที่เป็นศูนย์วิจัยและฝึกอบรม และให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยา อุตสาหกรรม ในระดับชาติและระดับภูมิภาค
       2. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และเชื่อมโยงเครือข่าย นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
       3. ส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และสร้างองค์ ความรู้ใหม่ที่จะสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดการพัฒนาไปได้โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยที่สุด
       4. พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และการฝึกอบรมด้านนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม ที่ทันสมัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้จริง
       5. ทำหน้าที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษาวิจัย ฝึกอบรมด้าน นิเวศวิทยาอุตสาหกรรม และสามารถสิ่งที่ได้เรียนรู้นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับภาคอุตสาหกรรม