ปรัชญาหลักสูตร
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีจิตสาธารณะ และธรรมาภิบาล เชื่อมโยงและบูรณาการความรู้แบบพหุวิทยาการระหว่างศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้เพื่อการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนให้กับชุมชน ท้องถิ่น สังคม องค์กรท้องถิ่น องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และสากล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ (PLOs) ดังนี้
PLO 1 วางแผนการพัฒนาเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ตามบริบทของประเทศไทย และเชื่อมโยงกับบริบทสากล
PLO 2 ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสังคมศาสตร์เพื่อประเมินความเป็นเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
PLO 3 ออกแบบและดำเนินงานวิจัยด้านการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (ทักษะการทำงานด้านวิจัย Research Skills)
PLO 4 มีความเป็นผู้นำในการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Leadership and management Skills)
PLO 5 มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Information and Communication Technology Skills)
งานวิจัยของหลักสูตรเน้นหนักทางด้าน
บูรณาการการวิจัยที่ตอบสนองแนวคิดหลักของการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน คือ สภาพแวดล้อมของเมืองต้องน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบายทั้งสุขภาพกายและใจ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีเอกลักษณ์ของศิลปะและวัฒนธรรม มีนโยบายการจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม และให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการพัฒนาและจัดการการชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง นอกจากทิศทางงานวิจัยของหลักสูตรตอบสนองแนวคิดหลักของการจัดการเมืองน่าอยู่ฯ จะสองคล้องกับความต้องการของชุมชนและปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนเพื่อการพัฒนาประเทศ พร้อมกับการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ยึดหลักภารกิจการมีส่วนร่วมและสามารถนำผลการวิจัยที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในเชิงสร้างสรรต่อชุมชน ท้องถิ่น สังคม องค์กรท้องถิ่น องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และสากล ซึ่งกรอบการวิจัยประกอบไปด้วย
- ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมในการเป็นสังคมเมืองน่าอยู่
- เมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พัฒนาสังคมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน, การจัดการพื้นที่เชิงบูรณาการ, การป้องกันและการแก้ไขปัญหามลพิษและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม, การเตรียมความพร้อมของชุมชนและการสร้างเครือข่าย
- ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และการวางแผนยุทธศาสตร์บูรณาการเพื่อสิ่งแวดล้อมเมืองน่าอยู่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการที่สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจุดเน้นที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงและภาวะความเสี่ยงในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต -
- การสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามบริบทด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
- (ภาคปกติ) แผน ก.2 110,000 บาท (ระยะเวลา 2 ปี)
- (ภาคพิเศษ) แผน ก.2 160,000 บาท (ระยะเวลา 2 ปี)