หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 - 2570 โดยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญตามอัตลักษณ์ ตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์สูงสุด เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทุนมนุษย์สู่ยุคศตวรรษที่ 21 รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกำลังคนในประเทศ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร และศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับสมรรถนะกำลังคนตามพันธกิจและนโยบายของคณะและมหาวิทยาลัย จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรด้วยการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติ (Learning by doing) และเน้นการใช้งานโปรแกรมฟรีและโปรแกรมรหัสเปิด ทำให้สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้จริง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลระหว่างกัน เพื่อสร้างเสริมเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรจากทุกภาคส่วนต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) ให้แก่หน่วยงานรัฐเอกชน องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ ตลอดจนผู้สนใจให้มีความรู้และทักษะการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านกรณีศึกษา (Use case) และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) ในการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
- เพื่อสร้างเสริมเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- บุคลากรจากหน่วยงานรัฐ เอกชน องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ หรือประชาชนที่สนใจ มีความรู้และทักษะการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- การสร้างสรรค์แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลระหว่างกัน
รายละเอียดหลักสูตร
เนื้อหาหลักสูตร
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และได้เข้ามามีบทบาทต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร อาทิเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งปกคลุมดินและการใช้ที่ดิน แหล่งกำเนิดมลพิษ หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ทำให้การตัดสินใจและการจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ในด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
หลักสูตร เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถใช้แอปพลิเคชันในมือถือ เช่น ArcGIS Survey123, GeoODK Collect, QField หรือ Input สำหรับการสำรวจรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Ground survey) เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เฉพาะแห่ง (Local scale) และสามารถนำข้อมูลจากการสำรวจไปเผยแพร่ในรูปของแผนที่บนเว็บไซต์ (Web map) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างคุ้มค่าและเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ในหลักสูตรนี้ จะเน้นการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมและแอปพลิเคชันฟรีหรือรหัสเปิด เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการติดตั้งและใช้งานโปรแกรมด้วยตนเอง และสามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง
สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ
- เข้าใจความหมายและประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
- เข้าใจกระบวนการทำงาน และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่ใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
- สามารถใช้งานโปรแกรมฟรี โปรแกรมรหัสเปิด และแอปพลิเคชันในมือถือในงานสำรวจและแสดงผลข้อมูลแผนที่บนเว็บไซต์ได้
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
บุคลากรจากหน่วยงานรัฐ เอกชน องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือประชาชน ที่ต้องการเรียนรู้การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร หรืองานสำรวจด้านอื่น ๆ เช่น การสำรวจข้อมูลด้านสาธารณสุข ด้านการเกษตร ด้านเมืองและชุมชน เป็นต้น และต้องการแสดงข้อมูลแผนที่บนเว็บไซต์
วิธีการฝึกอบรม
- ภาคทฤษฎี
- องค์ประกอบและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
- ระบบพิกัดและหลักการอ่านแผนที่เบื้องต้น
- ลักษณะของฐานข้อมูลเชิงพื้นที่
- กระบวนการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
- เทคโนโลยี Web map
- ภาคปฏิบัติ
- การสร้างความคุ้นเคยกับโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (QGIS) และข้อมูลเชิงพื้นที่
- การสำรวจข้อมูลด้วยแอปพลิเคชันในมือถือ (QGIS + Mergin + Input)
- การสร้างแอปพลิเคชันในมือถือสำหรับใช้สำรวจข้อมูล (AppSheet)
- การแสดงข้อมูลแผนที่บนเว็บไซต์ (qgis2web)
การประเมินผล
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรอง โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม ดังนี้
- เข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
- ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
- ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วนและมีผลงานผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในภาคปฏิบัติ: QGIS, Mergin, Input, AppSheet และ qgis2web
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม: สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 30 คน (หากผู้สมัครมีจำนวนไม่ถึง 20 คน ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร)
ระยะเวลาดำเนินการ: 1 วัน ในวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565
อัตราค่าลงทะเบียน: ท่านละ 1,000 บาท
ลงทะเบียนออนไลน์: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScH1DojdM9IaTuF1Y8Ml-VTdGBlOhPaSvNqtRFvmSFiDNruLA/viewform
วิธีการชำระค่าลงทะเบียน: กรุณาชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า 7 วันก่อนจะถึงวันจัดอบรม และโปรดส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนมายังอีเมล theerawut.chi@nahidol.ac.th พร้อมนำใบโอนเงินต้นฉบับมาในวันอบรมเพื่อขอรับใบเสร็จรับเงิน
- โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางกอกน้อย เลขที่บัญชี 119-0 706 75-2 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทออมทรัพย์
สถานที่ดำเนินการ
ห้องบรรยาย 5 (4118) ชั้น 1 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงานรับผิดชอบ
- ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
- ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล
กำหนดการหลักสูตร
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
(Geoinformatics for Resource and Environmental Monitoring and Surveillance)
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565
ณ ห้องบรรยาย 5 (4118) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
*****************************************************************************
วัน / เวลา |
หัวข้ออบรม |
วิทยากร |
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 |
||
08.00 - 09.00 น. |
ลงทะเบียน |
|
09.00 - 10.30 น. |
ปฏิบัติการ: การใช้ประโยชน์แผนที่ และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (QGIS + Plugins) |
นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ นักวิชาการสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
10.30 - 10.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่มตามอัธยาศัย |
|
10.45 - 12.00 น. |
ปฏิบัติการ: การสำรวจข้อมูลด้วยแอปพลิเคชันในมือถือ (QGIS + Mergin + Input) |
นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ นักวิชาการสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
12.00 - 13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
|
13.00 - 14.30 น. |
ปฏิบัติการ: การสร้างแอปพลิเคชันในมือถือสำหรับใช้สำรวจข้อมูล (AppSheet) |
นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ นักวิชาการสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
14.30 - 14.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่มตามอัธยาศัย |
|
14.45 - 15.45 น. |
ปฏิบัติการ: การแสดงข้อมูลแผนที่บนเว็บไซต์ (qgis2web) |
นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ นักวิชาการสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
15.45 - 16.00 น. |
อภิปรายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมอบประกาศนียบัตร |
ทีมวิทยากร |
หมายเหตุ:
- กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
- ผู้อบรมต้องนำโน้ตบุ๊กมาใช้ในการอบรมด้วยตนเอง เพื่อใช้สำหรับติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ในการอบรม