• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.reuters.com/world/asia-pacific/thailand-warns-high-pollution-capital-asks-govt-staff-work-home-2024-02-15/

รัฐบาลไทยเตือนระดับมลพิษในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงซึ่งได้ถึงระดับที่กระทบต่อสุขภาพในช่วงที่วันผ่านมา พร้อมกับสั่งพนักงานภาครัฐในเมืองหลวงให้ทำงานจากที่บ้านในวันข้างหน้า และเรียกร้องให้ผู้อื่นทำเช่นเดียวกัน

นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าการเผาพืชผลเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของมลภาวะอย่างรวดเร็ว และเสริมอีกว่า ประมาณหนึ่งในสี่ของมลพิษนั้นมาจากยานพาหนะ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้

เพื่อลดมลพิษในการจราจร นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้บอกกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการให้เริ่มทำงานจากที่บ้าน และบอกให้พนักงานคนอื่น ๆ ทำเช่นกัน โดยขณะนี้ รัฐบาลไทยได้ให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรเพื่อป้องกันการเผาไหม้ ในขณะที่สมาชิกสภานิติบัญญัติของไทยกำลังพิจารณาพระราชบัญญัติอากาศสะอาดสำหรับการขนส่ง ธุรกิจ และการเกษตร เพื่อลดมลพิษในวงกว้าง


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  17 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : Springnews  (https://www.springnews.co.th/program/keep-the-world/847870)

         ประเทศไทยพบแหล่งแร่ลิเทียมอันดับ 3 ของโลก? ชวนดูว่าทั่วโลกมีแหล่งแร่ลิเทียมที่ไหนบ้าง? ลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง และการทำเหมืองกระทบสิ่งแวดล้อมแค่ไหน?..เกิดเป็นที่ฮือฮาสำหรับเดือนมกราคมนี้ หลังกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ออกมาประกาศว่า ประเทศไทยของเราพบแหล่งแร่ลิเทียมมากกว่า 14.8 ล้านตัน มากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากโบลิเวียและอาร์เจนตินา และเป็นเกรด

เกรดลิเทียมออกไซด์เฉลี่ย 0.45% ที่ถือว่ามีคุณภาพสูงสร้างความหวังแต่ตื่นเต้นเร้าใจให้กับประชาชนมาก ๆ แต่แล้วแสงนั้นก็ดับลง เพราะภายหลังได้ออกมาแก้ข่าวว่า เข้าใจผิด ไทยไม่ได้มีแร่ลิเทียมมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ที่จริงการค้นพบนี้ เป็นผลงานของทีมวิจัยที่นำโดย ผศ.ดร.อลงกต ฝั้นกา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยแร่และศิลาวิทยาประยุกต์ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ค้นพบแหล่งทรัพยากรลิเทียม ที่แหล่งสำรวจบางตีอุ้มและแหล่งเรืองเกียรติ จ.พังงา ซึ่งงานวิจัยก็ไม่ได้บอกนะว่าพบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก..ข้อเท็จจริงคือ แหล่งแร่ลิเทียมดังกล่าว อยู่ในแร่เลพิโดไลต์ (lepidolite) มีลักษณะเป็นแร่แผ่นสีม่วงอมชมพูที่พบในหินเพกมาไทต์ (pegmatite)..ที่เกิดจากการตกผลึกของแมกมาที่สัมพันธ์กับหินแกรนิตที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย

งานวิจัยบ่งชี้ว่าสิ่งที่พบคือ Mineral..Resource..ซึ่งก็คือ ปริมาณทางธรณีวิทยาของทรัพยากรแร่ ไม่ใช่ Lithium..Resource..หมายถึงทรัพยากรโลหะลิเทียม กล่าวง่าย ๆ คือ ปริมาณ 14.8 ล้านตันนั้น คือ..รวมแร่ทั้งหมดที่ปกคลุมลิเทียมอยู่ด้วย ไม่ใช่ลิเทียมเพียว ๆ ซึ่งการจะได้มาซึ่งลิเทียมเราจะต้องนำไปกลั่น ไปสะกัดออกมาอีกที ดังนั้น ปริมาณที่ประมาณไว้หลังสกัดออกมาเราก็น่าจะได้ลิเทียมประมาณ 6 หมื่นตันเท่านั้น

           แร่ลิเทียม คือโลหะที่เบาที่สุดในบรรดาโลหะทั้งปวง มีความหนาแน่นครึ่งหนึ่งของน้ำ ซึ่งมีสัญลักษณ์ในตารางธาตุคือ Li..ทนความร้อนสูงส่วนใหญ่แร่ลิเทียมจะถูกนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ถ่านไฟฉาย จาระบีลิเทียม รวมไปถึงแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่กำลังมีความต้องการสูงในตลาด EV CAR ตอนนี้ จึงไม่แปลกที่หลายคนจะคาดหวัง เพราะหากประเทศไทยพบแหล่งแร่ลิเทียมจริง ๆ อาจจะทำให้เราเป็นผู้ส่งออกลิเทียมรายใหญ่ของโลกและแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอาจจะมีราคาถูกลงได้แล้วประเทศไหนมีแหล่งแร่ลิเทียมมากที่สุด ข้อมูลจาก U.S.Geological Survey หรือสำนักงานธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา ที่อัปเดตเมื่อเดือนมกราคม 2023 เผยว่า ประเทศที่มี Lithium Resource มากที่สุดคือ โบลิเวียมีแร่ลิเทียม 21 ล้านตัน รองลงมาคือ อาร์เจนตินา 20 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา 14 ล้านตัน ชิลี 11 ล้านตัน และออสเตรเลีย 7.9 ล้านตัน ส่วนประเทศที่ผลิตลิเทียมได้มากที่สุด (Lithium Producers) ข้อมูลจากแหล่งเดิมแต่อัปเดตปี 2022 เผยว่า ออสเตรเลียผลิตลิเทียมได้มากถึง 61,000 ตัน มากที่สุดในโลก รองลงมาคือ ชิลี 39,000 ตัน จีน 19,000 ตัน อาร์เจนตินา 6,200 ตัน และบราซิล 2,200 ตัน การมีแร่ลิเทียม บ่งบอกถึงความก้าวหน้าด้านทรัพยาแร่และความมั่งคั่งของประเทศใช่ไหมคะ แต่จริง ๆ แล้ว การจะสร้างเหมืองแร่นั้น เราจะต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าของเราชุดใหญ่เลย..สุดท้ายก็เรื่องผู้คนในท้องถิ่นและกลุ่มชนชาติพันธุ์นี่แหละชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ได้รับผลกระทบจากการขุเหมืองลิเทียม กิจกรรมดังกล่าว ทำให้ชนพื้นเมืองเดินออกจากดินแดนที่เรียกว่าบ้านไปหลายร้อนคนแล้ว เพราะสุดท้ายเสียงของพวกเขาไม่มีความหมายและแพ้อำนาจของเอกชนอยู่ดี หรือชุมชนในทะเลทราบอาตากามาของชิลี แหล่งน้ำที่นั้นปนเปื้อนสารเคมีอันตรายที่มาจากบริษัทเหมืองแร่ 2 แห่งแถวนั้น ซึ่งที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาเสื้อผ้า ปัญหาฟาร์ตแฟชั่นโลกด้วย


NBT CONNEXT  16 กุมภาพันธ์ 2567

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  กำชับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละลอง PM2.5 อย่างเร่งด่วน ตามนโยบายที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบไว้และให้ความสำคัญในระดับสูง เพราะในขณะนี้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ถือเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน โดยให้เน้นการลงพื้นที่และสั่งการให้มีการลดการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่นพิษ ขอให้มีการออกมาตรการตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ให้เห็นเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา (2567) นายอนุทิน ได้เป็นประธานประชุมมอบนโยบายและติดตามการปฏิบัติราชการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ที่ อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยประจำจังหวัดเชียงราย ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น (อปท.) และนายอำเภอทั้ง 18 อำเภอ ของจังหวัดเชียงรายเข้าร่วม ซึ่งนายอนุทินได้กำชับในที่ประชุมให้ผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่ให้ความสำคัญกับปัญหาฝุ่นละอองข้ามแดน เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วนและกำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้นทุกปี 


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  15 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://en.tempo.co/read/1831091/singapore-scientists-innovate-with-artificial-worm-gut-to-combat-plastic-pollution

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ (NTU Singapore) ได้คิดค้นระบบ ‘ไส้หนอน’ เทียม ที่สามารถทำลายพลาสติกได้ เพื่อจัดการกับปัญหาระดับโลกจากมลภาวะพลาสติก โดยใช้แบคทีเรียจากลำไส้ของหนอนเพื่อเร่งการย่อยสลายพลาสติก

เดิมทีแล้ว หนอน Zophobas atratus หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘หนอนนกยักษ์’ มีความสามารถในการย่อยพลาสติกจากแบคทีเรียในลำไส้ถูกจำกัดด้วยอัตราการบริโภคที่ช้า โดยวิธีการของ NTU หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านี้คือการแยกแบคทีเรียที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การใช้งานจริงของแบคทีเรียเหล่านี้ในการย่อยสลายพลาสติกออกจากลำไส้ของหนอน ซึ่งจะทำไม่ให้จำเป็นต้องอาศัยตัวหนอนเลย

รองศาสตราจารย์ Cao Bin จาก School of Civil and Environmental Engineering (CEE) และนักวิจัยหลักที่ Singapore Centre for Environmental Life Sciences Engineering (SCELSE) อธิบายว่า ตลอดช่วงชีวิตของหนอนตัวนึงสามารถย่อยพลาสติกได้น้อยมาก ดังนั้น การมุ่งเน้นไปที่แบคทีเรียที่ช่วยย่อยพลาสติกภายในลำไส้ของหนอน และสร้างสภาพแวดล้อมเทียมให้กับพวกมัน จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายพลาสติกได้

ทีมวิจัยได้การให้อาหารหนอนด้วยพลาสติกประเภทต่าง ๆ ได้แก่โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) โพรพิลีน (PP) และโพลีสไตรีน (PS) จากนั้นจึงเพาะเลี้ยงไมโครไบโอมในลำไส้ที่สกัดออกมาในสภาพแวดล้อมนี้ได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ย่อยสลายพลาสติก เป็นผลให้แบคทีเรียเหล่านี้จำนวนเพิ่มขึ้น


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  14 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1112864)

ทะเล คือแหล่งอาหารและทรัพยากรที่สำคัญกับทุกชีวิตบนโลก แต่ตอนนี้ทะเลกำลังเป็นแหล่งของขยะซึ่งขยะที่พบมากที่สุดคือ “ขยะพลาสติก“

ภาพสมาชิกความร่วมมือ  Seecleaners เมื่อปีก่อน ที่กำลังเก็บขยะจากท้องทะเลในเมื่อชายทะเล Viviers ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งปัญหาขยะในท้องทะเลไม่เพียงแต่เป็นเรื่องใหญ่ในต่างประเทศเท่านั้น สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เสนอรายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ เมื่อพ.ศ. 2564 ที่ระบุว่า ขยะที่ตกค้างออกจากระบบนิเวศชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 443,987 กิโลกรัม ขยะที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ถุงพลาสติก เศษโฟม ขวดเครื่องดื่มแก้ว นอกจากนี้ พบขยะที่ไหลผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยามากที่สุด จำนวนเฉลี่ย 52.65 ล้านชิ้น/ปี อย่างไรก็ตาม ความพยายามจัดการปัญหาขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกก็มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ระบุถึงโครงการงานบำรุงถนนทางหลวงชนบทสาย อย.2039 แยก ทล.33 – บ้านไก่จ้น อำเภอภาชี ท่าเรือ และหนองแค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการสร้างถนน พร้อมติดตามพฤติกรรม และสมรรถนะทางวิศวกรรมในการพัฒนาผิวทางชนิดดังกล่าว ปัจจุบันโครงการฯ ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ โดยปรับปรุงโครงสร้างพื้นทาง และไหล่ทางเดิมด้วยวิธี Cement Stabilized In – Place พร้อมปูผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตผสมขยะพลาสติก โดยใช้ขยะพลาสติก 5 ตัน ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรช่วง กม. ที่ 10+100 – 15+200 ระยะทางรวม 5.1 กิโลเมตรใช้งบประมาณ 21 ล้านบาทเพื่อช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของประชาชนให้สะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สำหรับการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตผสมขยะพลาสติกกับผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตในสภาพแวดล้อม และสภาพการจราจรเดียวกัน เพื่อวิจัย และพัฒนางาน ซึ่งเป็นนวัตกรรมผิวถนนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  13 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.dailynews.co.th/news/3163860/

รัฐบาลจีนเผยแพร่เอกสารแนวปฏิบัติ ที่ระบุถึงเป้าหมายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อเร่งการจัดทำระบบรีไซเคิลขยะ และเสริมสร้างพื้นฐานด้วนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคาร์บอนต่ำของประเทศ เพื่อบรรลุการพัฒนาซึ่งมีคุณภาพสูง

แนวปฏิบัติข้างต้นเน้นย้ำถึงการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีหลัก 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ผ่านการจัดการที่แม่นยำ การรีไซเคิล และใช้ประโยชน์จากขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ แนวปฏิบัติระบุถึงความจำเป็นของการพัฒนาอุตสาหกรรมรีไซเคิลทรัพยากรที่ครอบคลุมในทุกด้านของการผลิตและวิถีชีวิต และการบรรลุเป้าหมายผลผลิตอุตสาหกรรมรายปีที่ 5 ล้านล้านหยวน(ราว 25.21 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2568 และจีนจะจัดตั้งระบบรีไซเคิลขยะที่ครอบคลุมมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบระเบียบในประเทศ ภายในปี 2573


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  12 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://thaipublica.org/2024/02/bangchak-low-emission-support-scheme-pr-12022024/

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผลักดันแนวคิด “ลดขยะต้นทางกับบางจากฯ” อย่างเป็นรูปธรรม หนุนมูลนิธิใบไม้ปันสุข และพันธมิตร รับใบประกาศเกียรติคุณ “โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซ เรือนกระจก” หรือ โครงการ LESS: Low Emission Support Scheme จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นผลจากการรณรงค์ให้ผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ร่วมลดขยะจากต้นทาง ผ่าน 2 โครงการสำคัญ ได้แก่ รักษ์ ปัน สุข จูเนียร์ และโครงการเก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สามารถรวบรวม ของเสียเกือบ 10 ตัน ให้กลับเข้าสู่ระบบด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นางกลอยตา ณ ถลาง รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการมูลนิธิใบไม้ปันสุข กล่าวว่า บางจากฯ มีความมุ่งมั่นในการรณรงค์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจตระหนักถึงวิกฤตภูมิอากาศและการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ผ่านหลากหลายภารกิจเพื่อร่วม “ลดขยะต้นทางกับบางจากฯ” โดยการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เช่น บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจีซี (SCGC) และ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้มีแนวปฏิบัติและเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม การได้รับใบประกาศเกียรติคุณนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ สามารถประเมินการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการจัดเก็บวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ นำไปหมุนเวียนใช้ประโยชน์อื่น ๆ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ด้วย Circular Economy ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมผ่านหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่

โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme) หรือ LESS โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก มีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการดำเนินกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยกย่องผู้ทำความดีโดยการมอบใบประกาศเกียรติคุณ (Letter of Recognition: LOR)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  11 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1112254)

เวที CAL Forum รุ่น 3 สู่เป้าหมายลดโลกร้อนพิชิต “Net Zero” สานต่อภารกิจรุ่นสู่รุ่น เร่งกระบวนการปรับแก้กฎหมายช่วยโลกให้ดีขึ้น ลดสัดส่วนฟอสซิล เพิ่มพลังงานสะอาด เดินหน้านโยบายสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ราคาที่เป็นธรรม ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (TGO)..โดยสถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA) จัดเวทีผู้นำ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 3” หรือ CAL Forum #3 ครั้งที่ 1 จำนวน 69 ท่าน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา สื่อมวลชน และองค์กรอิสระร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ประสบการณ์ โดยเฉพาะการเปลี่ยแปลบงสภาพภูมิอากาศ การกีดกันทางการค้า สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รักษาระดับราคา และดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

           นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า โครงการ CAL Forum เป็นการรวมตัวของผู้นำภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน รวมถึงเอ็นจีโอ ต่าง ๆ ที่มีบริบทและ DNA เดียวกันถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรทั่วโลก “ที่ผ่านมาได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์มาแล้ว 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1 มีผู้เข้าร่วม 49 ท่าน รุ่นที่ 2 มีจำนวน 63 ท่าน ส่วนรุ่นที่ 3 นี้มีจำนวน 69 ท่าน” อย่างไรก็ตาม จากการที่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลก หากย้อนกลับไปเวที่ COP 26 ได้เริ่มมีความจริงจังในเรื่องนี้ที่เข้มข้นขึ้น และประเทศไทยก็ได้ปรับเป้าหมาย Carbon Neutrality หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2550 และ เป้าหมาย Net zero emissions หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2065 เพื่อสอดรับกับทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยจะต้องดำเนินการหลายอย่างทั้งในเรื่องของกฎหมาย กระบวนการ ที่ภาครัฐต้องปรับปรุง กระทรวงพลังงานได้ปรับแผนพลังงานชาติ ซึ่งสิ่งสำคัญคือเรื่องของกฎหมายเมื่อขยับเข้ามาเวที COP 27 มีวิวัฒนาการต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงการ CAL Forum#2 มีเรื่องของการเงินการลงทุน และการค้าข้ามพรมแดนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น พอมารุ่นที่ 3 มีการจัดเวที COP 28 ที่ต้องสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังานในรูปแบบพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเป็น 3 เท่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นผลลัพธ์ของการประชุมทั่วโลก


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.