• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

กิจกรรมคณะ

สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำคณะฯ

2 ตุลาคม 2566 คณะผู้บริหารประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉราพร ขำโสภา รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายนโยบาย แผนและคลัง พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคศึกษาเพื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำคณะ และเคารพรูปเหมือน รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ เพื่อความเป็นศิริมงคลเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและเริ่มต้นการทำงานอย่างเป็นทางการวันแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


บันทึกความเข้าใจระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Professor Laurie Elish-Piper, Interim Executive Vice President and Provost, Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ คณาจารย์อาคันตุกะ นักศึกษา รวมถึงบุคลากรสายสนับสนุนระหว่างสองสถาบัน

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) และ Professor Kerry Wilks, Associate Vice President, Division of International Affairs ได้ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฯ โดยมี Professor Melissa E. Lenczewski, Institute for the Study of the Environment, Sustainability, and Energy Earth, Atmosphere, and Environment, Northern Illinois University ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคพิเศษ และ อาจารย์ ดร.แพรวา วงษ์บุรี อาจารย์ประจำคณะ เป็นคณาจารย์ผู้ประสานงานหลักในการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้


งานมุทิตาจิตผู้เกษีณอายุราชการและอายุงาน

26 กันยายน 2566 เวลา 11.00 น. คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรปัจจุบันและบุคลากรผู้มีคุณูปการต่อคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มาโดยตลอด เข้าร่วมงานมุทิตาจิตผู้เกษีณอายุราชการและอายุงาน เพื่อแสดงความขอบคุณแก่บุคลากรของคณะสำหรับการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีจนถึงวันที่เกษีณอายุราชการและอายุงาน

โดยในปี 2566 บุคลากรที่เกษีณอายุราชการและอายุงาน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์ อาจารย์ ดร.บัณฑิต ชาญณรงค์ คุณไพศาล ไชยศรีรัมย์ และ คุณบุญธรรม นัทธีศรี

กิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และถ่ายทอดสดผ่านระบบ Facebook Live

Notice: No Images or Galleries Found


พิธีเปิดสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ

วันที่ 26 กันยายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศและกล่าวถึงความสำเร็จในการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความเป็นมาในการติดตั้งสถานีดังกล่าว ทั้งนี้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้กล่าวรายงานการเปิดสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ พร้อมด้วย ดร.ชิษณุพงศ์ ประทุม นักวิจัยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้นำเสนอข้อมูลสถานีฯ ณ อาคารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่วน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีความห่วงใยและให้ความสำคัญต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ตลอดจนประชาชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ประกอบกับการที่ผลการดำเนินงานของเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศ ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง คณะจึงได้รับงบประมาณแผ่นดินเพื่อติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแห่งนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการติดตามคุณภาพอากาศ มลพิษทางอากาศ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้และบูรณาการเพื่อการศึกษา วิจัย หรือใช้ในงานบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ทั้งในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก


© 2023 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.