สวัสดีทักทายผู้อ่านทุกท่านครับ บทความตอนนี้ถือเป็นบทความตอนแรกครับที่ผมไม่เขียนเอง เป็นบทความของนักวิจัยภายในศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม คุณอรพรรณ บุญพร้อม ที่อยากจะเขียนนำเสนอให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทำความรู้จักกับการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือที่เรียกกันติดปากในหมู่นักสิ่งแวดล้อมว่า LCA เครื่องมือตัวนี้จริงๆแล้วอยู่ในอนุกรมมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ครับ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศเราเริ่มให้ความสำคัญอย่างมากกับเครื่องมือตัวนี้ นักวิจัยท่านนี้ก็เลยคุยกับผมว่าอยากจะถ่ายทอดออกมาเป็นบทความแนะนำให้กับผู้ที่เริ่มจะสนใจและยังไม่รู้เรื่องราวของ LCA มากนัก ได้จุดประกายความอยากจะรู้จักกับมันมากขึ้น ผมได้ลองอ่านแล้วก็เห็นว่าดี ก็เลยนำมาเสนอแลกเปลี่ยนให้ทุกๆท่านได้เปลี่ยนบรรยากาศกันบ้างครับ เดี๋ยวจะเบื่อสำนวนการเขียนของผมเสียก่อน


LCA คือ อะไร ?
          Life Cycle Assessment (LCA) หรือ การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ คือ วิธีการประเมินเชิงปริมาณของการใช้ทรัพยากร มลพิษที่เกิดขึ้นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการ โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการนำไปกำจัด


LCA แตกต่างจากเครื่องมือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อย่างไร?
          - LCA สามารถใช้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
          - LCA มีความหลากหลายของข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผล
          - LCA จะมีการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกๆประเด็นที่เกิดขึ้นรวมไปถึงระบบนิเวศพันธุ์พืช/สัตว์ และสุขภาพของคน


ทำไมต้องใช้ LCA ?
          LCA เป็นตัวช่วยเพิ่มความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังสนใจในการพัฒนาคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน


การศึกษา LCA ประกอบด้วยอะไร?
          การศึกษา LCA ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน หลักดังนี้
          1. การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope Definition) คือ การ กำหนดเป้าหมายและขอบเขตของระบบ (system boundary) หน่วยการทำงาน (functional unit) ที่จะทำการศึกษา ขั้นตอนมีความสำคัญมากเป็นปัจจัยโดยตรงต่อความละเอียดในการศึกษาเพราะถ้ากำหนดเป้าหมายและขอบเขตไม่ดีพอจะทำให้ผลที่ได้จากการประเมินนั้นไม่ถูกต้องและไม่มีประโยชน์ในการที่จะนำผลที่ได้ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์นั้นให้ดีขึ้น
          2. การวิเคราะห์บัญชีรายการ(Inventory analysis) คือการเก็บรวบรวมและ คำนวนข้อมุลที่ได้จากกระบวนการต่างๆที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตการศึกษาขั้นตอนนี้มีการคำนวนหาปริมาณของสารขาเข้าและสารขาออกจากผลิตภัณฑ์ โดยจะพิจารณาถึงพลังงานและมลพิษที่เกิดขึ้นด้วย
          3. การประเมินผลกระทบ(Impact Assessment) คือมีการประเมินผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมโดยใช้ข้อมูลจากสารขาเข้าและสารขาออกรวมถึงมลพิษที่เกิดขึ้น โดยการประเมินจะแบ่งหัวข้อหลักๆ คือ การจำแนกประเภท (classification) การกำหนดบทบาท (characterization) และการให้น้ำหนักแก่แต่ละประเภท (weighting)
          4. การแปลผลการศึกษา (Life Cycle Interpretation) คือ การนำผลการศึกษาที่ ได้มาวิเคราะห์เพื่อสรุปผล การใช้ข้อเสนอแนะจากการประเมินวัฏจักรชีวิตโดยการสรุปผลจะต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของการศึกษาที่เราตั้งไว้

 
 
 
 
      

   *ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. คู่มือการฝึกอบรมการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์และการ ออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ.


 
  ใครใช้ LCA ?

ภาคอุตสาหกรรม
          - ออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์
          - พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดและแผนการลงทุน
          - ช่วยในการหาผู้จัดหาวัตถุดิบ (supplier) ให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ
          - ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อม
          - พิจารณาสนับสนุนเงินทุนหรือการจัดทำโครงสร้างภาษีอากร เอกชน
          - เป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อผู้บริโภค
          - เป็นข้อมูลเพื่อให้รัฐบาลมีการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค
          - เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์


ประโยชน์ของการทำ LCA ?
          - สามารถนำ LCA ไปใช้ในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตว่ากระบวนการใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
          - สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินไปใช้ในการออกแบบทำ Eco-design
          - ทำให้ทราบถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตตลอดวัฏจักรชีวิตไม่ใช่ช่วงใดช่วงหนึ่ง ทำให้สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ครบทุกด้าน

ที่มา: Towards the Global Use of Life Cycle Assessment


ตัวอย่างการประเมินวัฎจักรชีวิต

**หัวข้อ: การประเมินวัฎจักรชีวิตในระบบการจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้แล้ว

เป้าหมายและขอบเขตการศึกษา : เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในวัฎจักรชีวิตระหว่างการทำลายซากหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบรีไซเคิลและไม่รีไซเคิล เพื่อเป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อม ในการประเมินครั้งนี้ได้ใช้ฐานข้อมูลจากโปรแกรมการประเมินวัฎจักนชีวิตสำเร็จรูป Sima Pro 7.1 โดยใช้หลักการคำนวนของ Eco-indicator 99

หน่วยหน้าที่ : หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรง ขนาด 36 วัตต์

ผลการประเมินวัฎจักรชีวิต : กระบวนการกำจัดหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบไม่รีไซเคิล ประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ 1) การบดหลอด 2) การผสมปูนซีเมนต์ 3) การฝังกลบ โดยกระบวนการบดหลอดและฝังกลบมีผลกระทบด้าน Ecotoxicity มากที่สุด คือ มีการปลดปล่อย (9x10-3 PDF/m2/year) รองลงมาเป็นค่าการใช้เชื้อเพลิงซากพืช-สัตว์ (2.5x10-4 MJ surplus energy) ในทางกลับกันการรีไซเคิลมี 2 กระบวนการ คือ 1) การตัดขั้วหัวท้ายหลอดและบดหลอด2) Solidification กระบวนการตัดขั้วหัวท้ายหลอดและบดหลอดให้ค่า Ecotoxicity (-1.8x108 PDF/m2/year)

สรุปผลการทดลอง: การประเมินผลกระทบวัฎจักรชีวิตโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรุป Sima Pro สามารถสรุปได้ว่า การจัดการแบบรีไซเคิลสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้าน Ecotoxicity ได้มากถึง 1011 เท่า เนื่องจากการนำเศาแก้วที่มีปริมาณมากนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นการลดกาใช้ปูนซีเมนต์ เพื่อการนำมาทำเป็นก้อนแข็งและการฝังกลบลงได้จึงเป็นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

**ที่มา:วิทยานิพนธ์เรื่องการประเมินผลกระทบวัฎจักรชีวิตในระบบการจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้แล้ว ของนางสาวอรพรรณ บุญพร้อม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



                                                                                                    โดย อรพรรณ บุญพร้อม
                                                                                                    23 กุมภาพันธ์ 2552