“อะคริลิกใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”
โครงงานวิจัยดีเด่นงานศึกดวลคนอัจฉริยะ 49
โดย ดร. กิติกร จามรดุสิต
อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


เมทิลเมทาคริเลตจัดเป็นมอนอเมอร์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาการพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่ฟรีแรดิคอล (Free Radical Chain Polymerization) เมื่อนำมอนอเมอร์ดังกล่าวผ่านกระบวนการพอลิเมอไรเซชันจะได้เป็นพอลิเมทิลเมทาคริเลต (Polymethyl methacrylate) ในทางอุตสาหกรรมการเตรียมแผ่นพอลิเมทิลเมทาคริเลตมักจะเตรียมด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบบัลค์เพื่อให้ ได้แผ่นพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติใส หรือโปร่งแสงเหมือนแก้ว โดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปด้วยกระบวนการหล่อ (Casting Process) ได้เป็น ผลิตภัณฑ์แผ่นพอลิเมทิลเมทาคริเลตที่มีความโปร่งใสสูง หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า แผ่นอะคริลิกใส ผลิตภัณฑ์แผ่นอะคริลิกใสที่ ขึ้นรูปด้วยกระบวนการหล่อในปัจจุบันมักจะนำไปใช้กับงานกระเบื้องมุงหลังแบบใส เฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนประกอบที่ใช้กับรถยนต์ เมื่อ พิจารณาถึงราคาต้นทุนการผลิตของแผ่นอะคริลิกใสแล้ว พบว่าราคาของวัตถุดิบหลักเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ มีแนวโน้มที่จะขยับ ราคาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 5-10 เปอร์เซนต์ในแต่ละปี แนวโน้มการขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นของวัตถุดิบดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาต้น ทุนการผลิตของผู้ผลิต และราคาสินค้าของผลิตภัณฑ์อะคริใสที่ผู้บริโภคจะต้องแบกรับภาระมากขึ้นในอนาคต

กระบวนการขึ้นรูปแผ่นอะคริลิกใส (อ้างอิงจากกระบวนการของบริษัทแพนเอเชียอุตสาหกรรมจำกัด) สามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากการทำ พรีพอลิเมอไรเซชันพอลิเมอทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ จากนั้นจึงนำสารละลายหนืดที่ได้เทลงในแบบกระจกโดยมีสายพีวีซีเป็นขอบกั้น สารละลายหนืดและเป็นตัวกำหนดความหนาของแผ่นชิ้นงาน นำแบบที่เตรียมเสร็จเรียบร้อยไปต้มจนแข็ง จากนั้นจึงนำไปอบเพื่อให้ได้ แผ่นอะคริลิกใส เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเตรียมจะมีการตัดแผ่นอะคริลิกให้ได้ตามขนาดมาตราฐาน และตามขนาดที่ลูกค้าต้องการโดยไม่ ให้มีการติดของพลาสติกพีวีซีแล้วจึงนำแผ่นที่ตัดได้ออกทำการจำหน่ายต่อไป จากกระบวนการหล่อแผ่นอะคริลิกใสที่กล่าวข้างต้น หลัง จากผ่านการตัดชิ้นงานที่เตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้วมักจะเหลือเศษของอะคริลิกติดอยู่กับสายพีวีซี โดยทางบริษัทจะมีการแยกอะคริลิกที่ ติดอยู่กับพีวีซีนั้นอีกครั้งเพื่อให้ปริมาณของอะคริลิกที่ติดอยู่กับพีวีซีมีปริมาณน้อยที่สุด จากที่ผ่านๆมาเศษของอะคริลิกที่คัดแยกออกมา ได้นั้นจะนำไปขายให้บริษัทอื่นที่ต้องการ และอีกส่วนก็จะมีการทิ้งไป ซึ่งเศษพลาสติกอะคริลิกที่มีการทิ้งในแต่ละเดือนนั้นถึงแม้จะมี ปริมาณไม่มากเมื่อเทียบกับปริมาณผลิตภัณฑ์และกำไรที่บริษัทได้ในแต่ละเดือน แต่ก็นับได้ว่าเป็นการสร้างมลภาวะขยะพลาสติกให้กับ สิ่งแวดล้อม และเป็นการทิ้งทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ปัญหาของเศษแผ่นอะคริลิกใส ที่เหลือจากกระบวนการผลิตดังกล่าว ส่งผลให้เกิดแนวความคิดที่จะนำเอาเศษแผ่นอะคริลิกใสนั้นนำกลับ มาเวียนใช้ร่วมกับวัตถุดิบหลักในการผลิตแผ่นอะคริลิกใสอีกครั้งหนึ่ง ทีมนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปี 4 ปีการศึกษา 2548 ประกอบ ด้วย นางสาว ชลธิชา หอละเอียด นางสาว มนชญา ดุลยากร นักศึกษาจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นาย เผดิม จงสอน นักศึกษาจากภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

โดยมี ดร. กิติกร จามรดุสิต
อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม (นานาชาติ)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ภายใต้การสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย โครงการให้ทุนสนับสนุนโครงงานอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษา ปริญญาตรี (IRPUS) และบริษัทแพนเอเชียอุตสาหกรรมจำกัด ได้ทดลองนำเอาเศษอะคริลิกใสที่เหลือจากกระบวนการผลิตนำกลับมา เวียนใช้ร่วมกับวัตถุดิบเริ่มต้นจนสามารถผลิตแผ่นอะคริลิกใสที่มีคุณสมบัติเท่าเทียบกับแผ่นอะคริลิกใสที่ผลิตจากมอนอเมอร์เดิมร้อย เปอร์เซนต์ อีกทั้งแผ่นอะคริลิกใสที่ทำการวิจัยได้ยังมีสมบัติการทนต่อแรงดึงที่ดีกว่าแผ่นอะคริลิกใสเดิมด้วย นอกจากนี้ผลจากการศึกษา วิจัยโดยการนำเศษเหลือทิ้งของอะคริลิกที่นำกลับมาเวียนใช้ร่วมกับวัตถุดิบเริ่มต้นในปริมาณ 5 เปอร์เซนต์ยังสามารถช่วยลดผลกระทบที่ จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากปัญหาขยะพลาสติกประเภทอะคริลิกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต อาทิเช่น ลดปริมาณการใช้พลังงานเบื้อง ต้นในการผลิตมากกว่า 23 ล้านเมกะจูลต่อปี ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโลกได้มากกว่า 9 แสน กิโลกรัมต่อปี รวมถึงสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตแผ่นอะคริลิกใสคิดเป็นเงินมากกว่า 20 ล้านบาทต่อปีอีกด้วย

ผลงานวิจัยดังกล่าวประสบความสำเร็จโดยข้อมูลจากงานวิจัยได้รับการพัฒนาขึ้นสู่ระดับอุตสาหกรรมโดยบริษัทแพนเอเชียอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ “แผ่นอะคริลิกใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม Clear Acrylic Care for Environment: CACE” อีกทั้งยังได้รับการเผยแพร่ ผ่านสื่อโทรทัศน์รายการเที่ยงวันทันข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 เมื่อวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2549 และได้ร่วมเสนอผลงานในงาน “ศึกดวลคนอัจฉริยะ 49” จัดขึ้นโดยสำนักงาน กองทุนสนับสนุนงานวิจัย ในระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 2 เมษายน 2549 ณ.ห้อง MCC Hall ศูนย์การค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน โดยได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภท Professional Vote และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภท Popular Vote จากโครงงานที่ร่วมนำเสนอมากกว่า 200 โครงงานทั่วประเทศ

ผลงานวิจัยอะคริลิกใสใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ได้ดำเนินงานค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่องของคณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ได้รับ จริงจากภาคอุตสาหกรรมอันจะเป็นการช่วยนำพาประเทศชาติให้เจริญรุดหน้าเทียบเคียงนานาประเทศต่อไปในอนาคตสามารถหาข้อมูล รายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
• www.thaiacrylicsheet.com
• www.trf.or.th
• www.ipus.org

ขอขอบพระคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าวดังรายนามต่อไปนี้
• คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
• สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ภายใต้โครงการให้ทุนสนับสนุนโครงงานอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (IRPUS)
• บริษัทแพนเอเชียอุตสาหกรรม จำกัด นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
• ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา