ระบบนิเวศน์กับอุตสาหกรรม  
 
บทความตอนนี้เป็นตอนที่ผมนำมาจากงานเขียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชื่อคุณสธน ภัทรพิพัฒน์โภค ที่ได้ส่งมาให้ผมได้อ่าน และพิจารณานำเผยแพร่
เป็นงานเขียนที่ผมอ่านแล้วไม่หนักมากในเชิงวิชาการครับ แต่แฝงด้วยแง่มุมที่สามารถสะท้อนอะไรบ้างอย่างได้พอสมควรเลยทีเดียว ผมได้อ่านแล้วก็รู้สึกว่าแปลกดี ก็เลยหยิบเอามาลงในคอลัมน์ร้อยแปดพันเก้าเรื่องราวสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ได้ลองอ่านบ้าง ต้องเรียนเพิ่มเติมครับว่าผมไม่ได้มีการดัดแปลง
หรือขัดเกลาภาษาที่นักศึกษาท่านนี้เขียนส่งมาให้ผมเลยครับ ด้วยความที่อยากได้ของ original นั่นเองครับ อย่างที่ผมบอกครับว่าคอลัมน์นี้อยากจะเปิดกว้าง
ให้กับทุกคนที่อยากถ่ายทอดอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม งานเขียนนี้ก็เป็นงานหนึ่งที่มาจากนักศึกษาในรั้วอุดมศึกษาที่ผู้ใหญ่อย่างเราควรเปิดเวที
ให้เขาได้แสดงความคิดเห็นครับ ผิดพลาดไปบ้างผมว่าเราให้อภัยกันได้ครับ อ้อเกือบลืมส่งความสุขวันปีใหม่ไทยด้วยครับ เที่ยวกันให้สนุกแล้วอย่าลืมรักษาสิ่งแวดล้อม
ในทุกสถานที่ที่ไปเที่ยวด้วยนะครับ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้อยู่กับเรานานๆ ทิ้งท้ายให้น่าติดตามสักนิดครับ ว่าตอนหน้าพลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวงครับ
ผมจะนำเสนอเรื่องของอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุดครับ ผมเองตัดสินใจมานานเกือบเดือนแล้ว ด้วยเพราะเป็นนักวิจัยที่ทำงานวิจัยในพื้นที่มาบตาพุด
อยู่เป็นระยะเวลาพอสมควร ก็เลยอยากจะสะท้อนมุมมองของนักวิชาการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมบ้าง จะเหมือนหรือต่างกับนักวิชาการท่านอื่นๆ ก็ติดตามแล้วกันครับ
แต่รับรองตรงไปตรงมาตามสไตล์ผมแน่นอนครับ
 
         
 
 
 
 
 
 
แสงแรกของวันใหม่ก่อตัวขึ้นที่ปลายขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก นับเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของชีวิตบนพื้นผิวโลก ต้นหญ้าสีเขียวคายหยดน้ำเป็นเม็ดกลมที่ปลายยอดของพวกมัน ที่เราเห็นน้ำเป็นหยดน้ำได้ก็เพราะว่าในช่วงเวลากลางคืน อากาศจะอิ่มตัวด้วยไอน้ำทำให้น้ำไม่ระเหยเป็นไอ และจับตัวเป็นหยดน้ำอยู่ที่ใบหญ้า พืช นับเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศโลก ด้วยโครงสร้างภายในที่สามารถดูดกลืนแสงแดด นำมาสร้างเป็นสารอาหารในระบบห่วงโซ่อาหารได้



 
แสงสุดท้ายของวัน ลับลาขอบฟ้าไปไม่นาน นี้เป็นสัญญาณการเริ่มงานของโรงงาน
อุตสาหกรรมที่ไม่มีวันหลับใหล โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำ
กำลังปล่อยน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการบำบัดซึ่งผู้บริโภคจะได้ราคาสินค้าที่ถูกลง
และยังช่วยเจือจางความเป็นพิษของน้ำทิ้ง โรงงานอุตสาหกรรม
นับเป็นต้นสายการผลิตในระบบบริโภคนิยมที่สำคัญของโลก ด้วยโครงสร้างของสายการผลิตที่ ประกอบไปด้วยเครื่องจักรมากมาย จึงต้องอาศัยน้ำมันและไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ



 
  เหตุใดพืชต้องใช้พลังงานแสง?   ทำไมโรงงานต้องใช้น้ำมัน?  
  แสง เป็นพลังงานแรกที่โลกของเรารู้จัก และไม่มีวันหมดไปจากท้องฟ้า โลกในยุคแรกที่เริ่มมีชีวิตเกิดขึ้น พลังงานที่สำคัญอย่างหนึ่งคือความร้อน
พืช ได้พัฒนาโครงสร้าง วิวัฒนาการจากการคัดเลือกตามธรรมชาติ จนสามารถนำพลังงานแสงมาใช้ประโยชน์ได้ ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากแสงที่ต้องใช้แล้ว คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำเป็นอีกวัตถุดิบหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการผลิตสารชีวภาพ พืชจึงเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสารเคมีที่มีพลังงานต่ำ ให้เป็นสารประกอบทางชีวภาพที่มีพลังงานสูง คือ น้ำตาล และแป้ง
สารประกอบไฮร์โดรคาร์บอนเหล่านี้เป็นสารที่มีความสำคัญในระบบสายใยอาหารของโลก




  น้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถให้ค่าความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวก ในยุคแรกของอุตสาหกรรม เรานำไม้และถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของระบบการผลิต แต่น้ำมันสามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ดีกว่าในยุคเริ่มต้นของการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โรงงานเหล่านี้ต้องการทรัพยากร และวัตถุดิบต่างๆ
เพื่อเข้าสู้กระบวนการผลิต นอกจากผลิตภัณฑ์ ที่ถือว่าเป็นสินค้าที่นำเข้าสู่ตลาดสำหรับผู้บริโภคต่อไปแล้ว ของเสียและผลพวงจากการผลิต ยอมเกิดขึ้น หากเราคิดถึงอัตราส่วนของผลิตภัณฑ์ที่โรงงานผลิตต่อของเสีย
ที่ได้จากการผลิตย่อมมีค่าที่น้อยกว่าการผลิตตามธรรมชาติและผลิตภัณฑ์
ที่ได้จากการบวนการก็สามารถเพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลก




 
  ทำไม? พืช จึงเลือกดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์ เพียงอย่างเดียว ทั้งที่ในบรรยากาศก็มีก๊าซอื่นๆอีกมากมาย   ทำไม? โรงงานจึงต้องเลือกวัตถุดิบ ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีตัวอื่นๆ
ที่สามารถใช้ทดแทนได้

 
  ผู้ผลิต อย่างเช่นพืช ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีข้อจำกัด หากเราพิจารณาในบทบาทและหน้าที่ พืชนั้นไม่ได้เลือกดูดซับ แต่มันไม่สามารถใช้ก๊าซอื่นๆได้นอกจาก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งแน่นอนในรูปแบบของชีวิตทุกชนิด จุดหมายสูงสุดของสายการวิวัฒนาการ คือ การสามารถในการดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป โดยไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากการวิวัฒนาการนั้นไม่สามารถทำให้ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้





  ถ้าหากผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ ย่อมต้องเลือกหนทางที่ดีที่สุดสำหรับ
ตนเองเสมอ นั้นคือสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เพราะนั้นหมายถึงการดำรงธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งในโลกของการค้าเสรี ที่ผู้ซื้อมีสิทธิในการเลือกบริโภคปัจจัยเรื่องราคาย่อมมีอิทธิพลอยู่ไม่น้อยในการ
ควบคุมส่วนแบ่งของตลาดต่อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในการพัฒนาทางธุรกิจหมายถึง
ยอดขายและผลกำไล หากการพัฒนาทางธุรกิจโดยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ไม่สามารถตอบโจทย์ทางด้านผลกำไรได้



 
  ก็นับว่าล้มเหลว!!!


  ก็นับว่าล้มเหลว!!!


 
  แสงแดดอุ่นๆปลุกสิ่งมีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งให้ตื่นขึ้นมาเพื่อแสดงบทบาทในสายใยอาหารที่ซับซ้อน สิ่งมีชีวิตในรูปแบบที่ไม่สามารถสร้าง และสังเคราะห์อาหารเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากแหล่งอื่น ธรรมชาติจึงพัฒนาระบบการย่อยอาหาร ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยในการดูดซึม และรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ก็คือผู้บริโภค


  แสงจันทร์ฉายผ่านกลุ่มโกดังสินค้ายามวิกาล ระบบขนส่งเริ่มตื่นตัวเพื่อทำหน้าที่ใน
การกระจายผลิตภัณฑ์ บนเส้นทางที่มุ่งตรงไปสู่เมือง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของระบบเมืองสังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบพื้นฐานเหล่านี้จำเป็น และผู้ที่ควบคุมกลไกที่ลึกลับนี้ ก็คือผู้บริโภค


 
  หน้าที่ของผู้บริโภคในระบบนิเวศ นั้นคือเป็นตัวกลางสำคัญในการถ่ายทอดสสารและพลังงานในระบบ โดยจุดสูงสุดของระบบนิเวศนั้น จะเข้าหาสภาวะสมดุลโดยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพื้นฐานทางนิเวศ ก็คือ สสาร พลังงาน พื้นที่เวลาและความหลากหลายโดยตัวแปรเหล่านี้จะมีลำดับขั้นในการถ่ายทอดตามธรรมชาติ โดยมีผู้บริโภคในระดับต่างๆ เป็นตัวควบคุมกลไกและความต่อเนื่องของระบบ ในระบบการถ่ายทอดสสารและพลังงาน ผู้บริโภคในระดับต่างๆ จะมีหน้าที่และบทบาทที่แน่นอนแต่หลากหลาย นั้นคือความมีเสถียรภาพของระบบผู้บริโภคไม่อาจเลือกบริโภคตามอารมณ์ แต่จะต้องบริโภคตามหน้าที่และบทบาทของตนเอง


  จากรูปแบบของการตลาดที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จึงทำให้ปัจจัยในการควบคุมปริมาณการผลิตไม่ใช้ผู้ผลิต แต่กลับเป็นปัจจัยทางด้านอุปสงค์ของผู้บริโภคนั้นเอง
ดังนั้นตัวแปรที่ควบคุมการใช้ทรัพยากร ก็คือ ผู้บริโภค การบริโภคขั้นพื้นฐานของมนุษย์นั้น ตั่งอยู่บนปัจจัยในการดำรงชีวิตเฉกเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แต่เมื่อถึงระดับหนึ่ง จะเป็นการบริโภคตามความต้องการทางอารมณ์ และเริ่มมีการสะสม ซึ่งระดับความต้องการนี้จะไม่มีขีดจำกัดและขยายตัว เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ






 
  วัฏจักรชีวิตตามธรรมชาติของผู้บริโภค ย่อมมีความแตกต่างและหลากหลายตามลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกกำหนดมา ปัจจัยทางธรรมชาติต่างๆ เช่น แหล่งอาหาร สภาพอากาศ จะเป็นตัวกำหนดและคัดเลือก พฤติกรรมของสังคมชีวิต เช่น การจำศีลในฤดูหนาวของกบ การอพยพย้ายถิ่นของนก การเลือกเหล่าอาหารของเสือ หรือแม้กระทั้งการผสมพันธุ์ของปลา สิ่งเหล่านี้จะมีตัวควบคุมที่สำคัญต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจนเป็นสัญชาติญาณ นั้นคือ การคัดเลือกตามธรรมชาติ โดยข้อกำหนดสากลนี้จะเป็นตัวควบคุมและคัดเลือก สายพันธุ์ หากเรามองย้อนกลับไปถึงกฎพื้นฐานของธรรมชาติ นั้นคือ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ หากเรามีแหล่งคาร์บอนในรูปที่ง่ายกว่า

เราจะต้องสูญเสียพลังงานในการย่อยแหล่งคาร์บอนที่มีความซับซ้อนไปทำไม?

ซึ่งในธรรมชาติก็มีสารเหล่านี้อยู่มากถึงจะไม่เทียบเท่า เซลลูโลสก็ตาม




  วัฏจักรชีวิตของมนุษย์ ย่อมแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างเด่นชัด นอกจากการบริโภค
ด้วยอารมณ์แล้ว ยังมีความต้องการสิ่งต่างๆโดยไม่มีปัจจัยใดๆเป็นตัวกำหนด
พฤติกรรมและสังคมมนุษย์ ก็มีความคล้ายคลึง และอาจมีพื้นฐานเดียวกันทั้งโลก เช่น ความต้องการรู้สึกปลอดภัย ความสะดวก สบาย ความมั่นคง การเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น หรือแม้กระทั้งความรัก นี้อาจเป็นตัวกำหนดจากรหัสทางพันธุกรรมที่เหมือนกันของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกที่มนุษย์จะพยายามต่อสู้และขัดแย้งกับธรรมชาติตลอดเวลา
นับตั้งแต่อดีต เรา หากเราย้อนนึกถึงแหล่งกำเนิดของพวกมัน คือการใช้ทรัพยากร และการบริโภคอย่างไร้ขีดจำกัด นับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เราสูญเสียพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ฝังกลบขยะแทนที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือแม้กระทั้งการเผาทำลายที่ก่อมลพิษ

เราจะคิดหาวิธีการกำจัดขยะไป ทำไม?

ในเมื่อเราสามารถลดปริมาณขยะได้ในวิธีการที่ง่ายดายกว่าอยู่แล้ว



 
  หากเรามองระบบนิเวศ และสายการผลิตทางอุตสาหกรรม ย่อมมีความเหมือน และแตกต่างกันอย่างมากมาย อาจมีจุดหนึ่งที่สามารถแทนที่กันได้ หรืออาจมีอีกหลายจุดที่ตรงข้ามกัน เหมือนดังช่วงเวลาค่ำคืนและรุ่งอรุณในสถานที่เดียวกัน หากเราพยายามคิดและตรองดู เราจะพบว่า สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาไม่ใช้สิ่งที่เราไม่รู้ แต่เป็นสิ่งที่เรารู้ แต่กลับรู้ไม่จริง  
     
 
2 เมษายน 2552
 
     
 
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม อาคาร 1 ชั้น 3 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 02-4415000 ต่อ 1001 และ 080-4273500 โทรสาร 02-4419509-10
Email :
eco4industry@hotmail.com